การพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีตามความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก กรณีศึกษานิติบุคคลที่จดทะเบียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจขนาดเล็กรายใหม่ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากนิติบุคคลที่จดทะเบียนจำนวน 116 ชุด และได้นำแบบสอบถามหลังการแก้ไขปรับปรุงมาทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.944 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) หรือสถิติเชิงทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน F-test (One-Way Anova) โดยกำหนดช่วงความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 95 (α = .05) และในกรณีที่ผลการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการศึกษาเป็นรายคู่โดยใช้ Multiple Comparison Test แบบวิธี Least – Significant Difference (LSD)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี พบว่า ปัจจัยด้านคุณสมบัติเสริมเป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับแรก รองลงมาคือปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดหา ปัจจัยด้านด้านลักษณะการทำงานของโปรแกรม ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของโปรแกรมและผู้ผลิต ปัจจัยด้านความสามารถ ปัจจัยด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบ และปัจจัยด้านการสนับสนุนและการให้บริการหลังการขาย ตามลำดับ ซึ่งหากจำแนกตามปัจจัยองค์กรพบว่าประเภทธุรกิจ และรายได้ต่อปีต่างกัน มีปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีต่างกันต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). รายชื่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560. จาก https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=12385&filename=index.
นภาพร ลิขิตวงศ์ขจร และไพลิน ตรงเมธีรัตน์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ชอฟต์แวร์ทางการบัญชีของหน่วยธุรกิจในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 28(1), 33-47.
ปฐมา สตะเวทิน. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้เพื่อการวัดทักษะและความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในวัฒนกรรมและบริบทไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสัตพล, 5(2), 274-286.
ภัทราจิตร แสงสว่าง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของห้างหุ้นส่วนและบริษัทในเขตอุบลราชธานี. วารสาร BU Academic Review, 10(2), 93-103.
อรัญญา จินาชาญ และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพิจารณาเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 385-397.