ความเครียดและความเหนื่อยหน่ายในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัท ไฟน์ เม็ททัล เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

วัฒนา ศรีวิลัย
กล้าหาญ ณ น่าน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเครียดและความเหนื่อยหน่ายต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ไฟน์ เม็ททัล เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ พนักงานบริษัท ไฟน์ เม็ททัล เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน
231 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามชนิดเลือกตอบเป็นเครื่องมือการวิจัยในครั้งนี้ และผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.92 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Proportional sampling) ตามส่วนงาน หลังจากนั้นจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบ Enter ถูกนำมาใช้ทดสอบสมมติฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเครียด ได้แก่ ด้านจิตใจและด้านพฤติกรรมมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนความเครียดด้านร่างกายไม่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า เมื่อบุคคลเกิดความรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับงานหรือความมั่นคงในงาน รวมทั้ง การแสดงพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน เช่น การมาสายหรือขาดงานบ่อยครั้ง แสดงว่า บุคคลนั้นตกอยู่ในภาวะความเครียด ดังนั้น องค์การจะต้องหาวิธีแก้ปัญหาและลดภาวะความเครียดที่เกิดขึ้น 2) ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ได้แก่ ด้านการลดค่าความเป็นบุคคลในผู้อื่นและด้านความรู้สึกว่าตนไม่ประสบความสำเร็จมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความเหนื่อยหน่าย
ในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ไม่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
แสดงให้เห็นว่า เมื่อบุคคลเกิดความรู้สึกว่าตนเองปฏิบัติงานได้ไม่เต็มที่หรือไม่ได้ตามมาตรฐานของงานแล้ว จึงส่งผลให้การทำงานขาดประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กล้าหาญ ณ น่าน. (2563). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ทริปเปิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

จุฑารัตน์ ทางธรรม. (2558). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นันทนา นิจจอหอ และกล้าหาญ ณ น่าน. (2562). มาตรวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในธุรกิจให้บริการห้องพักจังหวัดนครนายกประเทศไทย.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 124–140.

บริษัท ไฟน์ เม็ททัล เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน). (2563). Company announcement: Subject stop operation.

เบญจมาศ อิ่มมาก. (2558). คุณภาพชีวิตและความเครียดในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมเครี่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขา การจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พัลพงศ์ สุวรรณวาทิน. (2559). การรับรู้ภาระงานและความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โดยมีการสื่อสารภายในองค์การและความเครียดในการทำงานเป็นตัวแปรกำกับ. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปะศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สสิพรรธน์ นิลสงวนเดชะ และณภัควรรต บัวทอง. (2559). ภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงานและกลวิธีในการเผชิญปัญหาของพนักงานองค์การเภสัชกรรม. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 60(5), 545–560.

Na-Nan, K., Chaiprasit, K. and Pukkeeree, P. (2018), Factor analysis-validated comprehensive employee job performance scale, International Journal of Quality & Reliability Management, 35(10), 2436–2449.