19. แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มธุรกิจทอผ้าวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านสามทอ ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อาวุธ วงศ์สว่าง
เจริญชัย พรไพรเพชร
สจี กุลธวัชวงศ์
ภัทรจิตรา เพียรชนะ
กิตติกรณ์ หนองหารพิทักษ์
สำเริง นนศิริ
กฤติกา จันทร์พล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านสามทอ ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มฯ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มฯ  โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Method) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน ซึ่งประกอบด้วยประธานและเลขา สมาชิกในกลุ่มฯ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองแสง และองค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่าง และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29  คน จากผู้ให้ข้อมูลหลักคือ สมาชิกกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านสามทอ ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี และใช้สถิติเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (คิดเป็นร้อยละ 89.7) มีอายุมากกว่า 40 ปี (คิดเป็นร้อยละ 96.6) มีสถานภาพแต่งงาน/อยู่ด้วยกัน (คิดเป็นร้อยละ 86.2) มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา (คิดเป็นร้อยละ 55.2) และมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท (คิดเป็นร้อยละ 96.6)  มีจำนวนบุตรต้องรับผิดชอบมากกว่า 2 คน (คิดเป็นร้อยละ 65.5)   มีประสบการณ์ในการทำงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาแล้ว 5-10 ปี (คิดเป็นร้อยละ 96.6)


จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมจัดอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.71) รองลงมาคือ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก
(gif.latex?\bar{x} = 3.71) และด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการถ่ายทอดความรู้ มีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.26)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2551). วิสาหกิจชุมชน. กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตร และสหกรณ์

ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์. (2551). แนวทางการพัฒนาธุรกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น, 3(1), 122-134.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร (2553). การพัฒนาองค์กรของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 97-122.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, นนทบุรี

นงคราญ กาญจนประเสริฐ. (2547). การบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาอาชีพเชิงวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษาองค์การ บริหารส่วนตำบลมะตูม. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก

นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ & นภาพรรณ พัฒ ฉัตรชัย. (2018). การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา: กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านโจรก. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 13(46), 101-111.

นิตยา สุริน. (2562). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล กรณีศึกษาสำนักงาน เลขานุการคณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล สำนักงานศาลยุติธรรม. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2562). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการ แข่งขันในประชาคมอาเซียน The Development of Community Enterprise in Lower Central Provinces Region 1 to Enhance its Competitiveness in the ASEAN Community. Political Science and Public Administration Journal, 10(1), 95-120.

นุรนัจมาล์ แวโด. (2557). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บัวรัตน์ ศรีนิล และคณะ. (2542). รายงานโครงการประมวลสถานภาพวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับ ผ้าทอพื้นบ้านไทยให้ได้เปรียบในเชิงแข่งขัน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ

ประคอง สุคนธจิตต์. (2562). ทรัพยากรมนุษย์ ยุค 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ, 7, 17- 28

พรชัย เจดามาน. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=857239

ภรณี หลาวทอง. (2558). ตัวแบบการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนประเภทผลิตภัณฑ์ผ้า และ เครื่องแต่งกายในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

มินระดา โคตรศรีวงค์ และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(3), 1632-1645.

วรรณพงค์ ช่วยรักษา. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านถ้ำเต่าจังหวัดสกลนคร. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิทยา จันทะวงศ์ศรี. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2559). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. โครงการรัฐประศาสนศาสตร์. มหาบัณฑิต ภาคพิเศษ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ

สมคิด ผลนิล. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และบรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีม กรณีศึกษา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. หลักสูตรรัฐประศาสนศาตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร

สุนทร ทองกำเนิด. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. งานศึกษาค้นคว้าอิสระ. วิทยาลัยการทัพบก

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

อนุชาติ ปิยนราวิชญ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ