ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความสำเร็จของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีค 2021
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความสำเร็จของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีค 2021 ปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย 1) ด้านการค้นหาและคัดเลือกนักกีฬา 2) ด้านการสนับสนุนและการส่งเสริม 3) ด้านการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา 4) ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวก 5) ด้านการจัดการทีม 6) ด้านการวิเคราะห์และการประเมินผลการแข่งขัน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักกีฬาทีมชายและทีมหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีค 2021 โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ 1 เป็นนักกีฬาทีมชายและทีมญิงที่ได้เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้ายจำนวน 120 คน ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นนักกีฬาทีมชายและทีมหญิงที่ไม่ได้เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย จำนวน 120 คน รวมจำนวน 240 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกด้วยเทคนิค Forward : LR
ผลการวิจัยพบว่า
- การศึกษาระดับตัวแปรการบริหารจัดการทีมเพื่อความสำเร็จของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีค 2021 อยู่ในระดับมากทุกด้านยกเว้นด้านด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวกอยู่ในระดับปานกลาง
- การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความสำเร็จของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีค 2021 พบว่า ด้านการจัดการทีม ด้านการค้นหาและคัดเลือกนักกีฬา ด้านการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา และด้านการสนับสนุนและการส่งเสริม สัมพันธ์ต่อความสำเร็จของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีค 2021 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และประสิทธิภาพของการทำนายผลการสอบของตัวแปรอิสระเท่ากับ ร้อยละ 92.90
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ณัฐพล คุ้มใหญ่โต และไกรศักดิ์ เกษร. (2559). แนวโน้มและความท้าทายของระบบสารสนเทศสำหรับการฝึกซ้อมกีฬา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 8(2), 153-167.
ตระการ นาคง ประภาส ฤกษ์พิบูลย์ และรัชนี ขวัญบุญจัน. (2562).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 11(2), 63-77.
ประสงค์ สุระพล. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความสำเร็จของนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 6(2), 97-112.
ปัญญา อินทเจริญ รังสฤษฏ์ จำเริญนภพร ทัศนัยนาและ ไพโรจน์ สว่างไพร. (2564). แนวทางการบริหารจัดการ
ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของทีมวอลเลย์บอลที่เข้าร่วมการแข่งขันในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 13(1), 100-110.
ปัญญา อินทเจริญ สุนันทา ศรีศิริ และอุษากร พันธุ์วานิช. (2563). รูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 172-175.
เพ็ญนิภา พูลสวัสดิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ (วท.ด.) วิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูพิงค์ สุวรรณ และเทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย (2558) การศึกษาการเตรียมทีมกีฬาจักรยานของสมาคมจักรยานแห่งประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 16(2), 49-62.
ไรแมน บุญถม.(2557). รูปแบบการพัฒนานักกีฬามวยสู่นักกีฬามวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 6(2), 97-112.
สจี กุลธวัชวงศ์ และคณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับคุณลักษณะของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ แห่งยุคสารสนเทศสู่องค์การยุคใหม่ในอนาคตของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่ม 1. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 240 -252.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). เเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564).กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สุพจน์ งดงาม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการทีมฟุตบอลลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 เขตกรุงเทพมหานครและภาคกลาง.วารสารบริหารธุรกิจ, 4(1), 22-29.
แอน มหาคีตะ และนภัสวรรณ เจริญชัยภินันท์. (2562). แนวทางการปฏิรูปองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(1), 143-155.
Amis, J. and Silk, M. (2005). Rupture: Promoting Critical and Innovative Approaches to the Study of Sport Management. Journal of Sport Management. 19, 355-366.
Chelladurai, P. (1985). Sport Management. Ontario: Sports Dynamics.
Graham, C., Liz, F., Eunjung, K., Shane, B. and Pam, K. (2020). Volunteer selection at a major sport event: A strategic Human Resource Management approach. Sport Management Review, 13(3), 25-41.
Hair, Jr., William.C. BlackBarry,Jb., & Rolph,Ea., (2013). Multivariate Data Analysis (7th ed.).Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Han J, Waddington G, Anson J, Adams R. (2015). Level of competitive success achieved by elite athletes and multi-joint proprioceptive ability. J Sci Med Sport, 18(1), 77-81
Kristiansen, E & Houlihan, B. (2017). Developing young athletes: The role of private sport schools in the Norwegian sport system. International Review for the Sociology of Sport, 52(4), 447- 469.
Lepschy H, Woll A and Wäsche H. (2021). Success Factors in the FIFA 2018 World Cup in Russia and FIFA 2014 World Cup in Brazil. Front. Psychol. 12:638690. doi: 10.3389/fpsyg.2021.638690
Millar, P. and Doherty, A. (2015). Capacity building in nonprofit sport organizations: Development of a process model. Sport Management Review, 19(4), 365-377.
Peachey, J., Zhou, Y., Damon, Z. J. and Burton, L. J. (2015). Forty Years of Leadership Research in Sport Management: A Review, Synthesis, and Conceptual Framework. Journal of Sport Management, 29(5), 570-587.
Pichot, L., Tribou, G. and O’Reily, N. (2008). Sport Sponsorship, Internal Communications, and Human Resource Management: An Exploratory Assessment of Potential Future Research. International Journal of Sport Communication, 1(4), 413-423.
Ramos, R. (2017). Critical factors influencing international sporting success of the Philippines: the athletes’ perspective, Asia Pacific Journal of Sport and Social Science, 6(2), 143-159
Ranjan, K. (2016). Human Resource Management in Sports: A Critical Review of its Importance and Pertaining Issues. Physical Culture and Sport Studies and Research, 5(5), 15-21.
Tjønndal, A. (2016). Sport, Innovation and Strategic Management: A Systematic Literature Review Faculty of Social Science, Nord University. Vitória, BBR, 13(Special Issuep). 38-56
Tomanek, A. M. (2020). Sport management: Thematic mapping of the research field. Journal of Physical Education and Sport, 20(2), 1201-1208.
Wei, L., Liu, J., Zhang, Y. and Chiu, R. (2008). The role of corporate culture in the process of strategic human resource management: Evidence from Chinese enterprises. Human Resource Management, 47(4), 777-794