การพัฒนาตัวบ่งชี้การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

มีศักดิ์ แสงศิลา
รอง ปัญสังกา
วรพล คล่องเชิงศร
ปัญญารัฐฎน์ จันทร์กอง
ธีระเดช จิราธนทัต
ประหยัด ฤาชากูล
เกศรี วิวัฒนปฐพี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Correlation co - efficiency) ค่าดัชนี KMO (Kaiser – meyer - olkin measure of sampling adequacy) ค่าสถิติของ Bartlett (Bartlett’s test of sphericity) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis)


ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 


1.1 ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และค่า KMO and Bartlett's Test องค์ประกอบหลักการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทุกองค์ประกอบหลัก มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (.30) และเมื่อทำการตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลเบื้องต้นก่อนนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยค่า Kaiser - meyer olkin measure of sampling adequacy (KMO) มีค่าเท่ากับ .886 ซึ่งมากกว่า .60 ค่า Bartlett's test of sphericity approx. นั่น หมายถึง ข้อมูลในส่วนนี้มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และมีความเหมาะสมระดับดีมาก ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น


1.2 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อสร้างสเกลองค์ประกอบ ในรูปแบบของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง เชิงเส้น เพื่อเป็นการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อันเป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยได้จัดกลุ่มตัวบ่งชี้ออกภายใต้องค์ประกอบย่อย และองค์ประกอบหลักได้ 5 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย และ 60 ตัวบ่งชี้ แล้วจัดองค์ประหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้เข้าทำการวิเคราะห์ตามกรอบทฤษฎี และเมื่อปรับความสอดคล้องของโมเดลแล้ว ทำให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จาก ตัวบ่งชี้ทุกตัว มีค่าสถิติต่าง ๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น แสดงว่า ตัวบ่งชี้ทุกตัวอยู่ภายใต้องค์ประกอบย่อย และองค์ประกอบย่อยทุกตัวอยู่ภายใต้องค์ประกอบหลัก สรุปว่า โมเดลตัวบ่งชี้การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องและกลมกลืนดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันยา เจริญถ้อย. (2553). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้การสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : ลาดพร้าว.

ทิพวรรณ ถาวรโชติ. (2564). รูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภัณฑิรา สุปการ. (2558). รูปแบบการบริหารการจัดการนิเทศการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). เอกสารการนิเทศการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2551). เอกสารประกอบการอบรม การใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสถิติชั้นสูง. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

________. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

________. (2555). รายงานการศึกษาระบบการนิเทศปัญหาความต้องการและรูปแบบการนิเทศเอื้อต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. et al. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale in martin fishbein, Readings in attitude theory and measurement. New York : Wiley.

Lowell & Wiles. (1983).Supervision, For better school. 5th ed., Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice - Hall.

Wiliams. (2007). A Case study in clinical supervision : moving From an Evaluation to a supervision mode. Dissertation Abstracts International, 68(5), 1804 - A, November.

Yamane, Taro. (1967). Statistics : An Introductory Analysis. 2nd Edition, New York : Harper and Row.