การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาด ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 2) ความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาด 3) การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาด ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ตัวอย่าง โดยใช้สูตรของคอแรน (Cochran, 1977) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regressions Analysis
ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาด ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ได้แก่ ด้านการขายโดยพนักงาน ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการตลาดทางตรง มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาดในกรุงเทพมหานคร สามารถร่วมกันพยากรณ์ความภักดีของผู้บริโภคที่ซื้อวัสดุหลังคากันสาด ได้ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.
จุฑามณี คุณชาไพร. (2566). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) และการบอกต่อแบบปากต่อปากบนสื่ออิเล็กทรอนิคส์ (e-WOM) ที่ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภค ที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(2) พฤษภาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2566
ณัฐพัชร์ ล้อประดิษฐ์พงษ์. (2549). คู่มือสำรวจความพึงพอใจลูกค้า: พร้อมกรณีศึกษาและเทคนิค. ปฏิบัติที่ได้ผลจริง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด.
ดนัย ปัตตพงศ์. (2558). เอกสารวิชาการด้านศาสตร์การวิจัยและสถิติประยุกต์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566. จาก http://it.nation.ac.th/faculty/danai/ download/statistics%20talks5.pdf
ธเนศ มหัทธนาลัย. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566. จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Construction-ConstructionMaterials/Construction-Contractors/IO/io-Construction-Contractors-21
ปรีชา แสนเมืองสว่างศรี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความภักดีของลูกค้าในตลาดอุตสาหกรรม : กรณีศึกษา บริษัท กิจรุ่งโรจน์ ซัพพลาย จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มหัสธวิน ใจจิต. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีของผู้บริโภคต่อร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ (Modern trade) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(2), 1-11.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรี. (2564). บทวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566. จาก https://thaipublica.org/2021/11/krungsri-research-on-economic-outlook-2022/.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). บทที่ 7 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเฃื้อไวรัสโคโรนา 2019. รายงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 19(1), 80-87.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
หมะหมูด หะยีหมัด. (2556). ความภักดีต่อตราสินค้าในมิติเชิงทัศนคติและมิติเชิงพฤติกรรม. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 8(1), 67-73.
อัสนา สาเมาะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนผสมการตลาดบริการกับความภักดีของผู้บริโภคในธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Cochran, W.G. (1977) Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.
David A. Aaker. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of a Brand Name. New York, NY. : The Free Press.
Fitriana, F., Kamase, J., Ramlawati, R., & Rahman, Z. (2021). The Effect of Integrated Marketing Communication on Image, Satisfaction and Loyalty of Hotel Guests in Makassar City. International Journal of Health, Economics, and Social Sciences (IJHESS), 3(2), 74-91.
Gomez, B. G., Arranz, A. G. and Cillan, J. G. (2006). The role of loyalty programs in behavioral and affective loyalty. Journal of Consumer Marketing, 23(7), 387-396.
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. 11th Edition, Prentice-Hall, Upper Saddle River.
Kotler, Philip., & Kevin Lane Keller. (2009). Marketing Management. 13th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.
Oliver, R.L. (1999). Whence Consumer Loyalty. Journal of Marketing, 63,33-34.