1. โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 10

Main Article Content

โกวิท ฮุยเสนา
วรพล คล่องเชิงศร
ทิพยวรรณ แพงบุปผา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1) ศึกษาองค์ประกอบของทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ตรวจสอบรูปแบบความสอดคล้องเชิงโครงสร้างของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 600 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบสอบถามโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .972 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป


ผลการวิจัยพบว่า


1. องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 พบว่ามีองค์ประกอบได้แก่ การฟังเชิงรุก (ALN) การถามคำถามทรงพลัง (PWQ) การวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมาย (PLG) และการให้ข้อมูลป้อนกลับ (FDB)


2. การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์


ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่าโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ได้แก่ ค่าไค-สแควร์ (gif.latex?\chi2) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 140 ที่ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 129 มีค่าใกล้เคียงกัน ค่าความน่าจะเป็น (P) เท่ากับ .232 ดัชนีค่ารากที่สองของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.014 ดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .976 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .965 และรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .012 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูล
เชิงประจักษ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมที่ดิน. (2561). การให้ข้อมูลป้อนกลับ. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.

_______. (2561). 7คำถามเปลี่ยนชีวิตได้จริงหรือ. กรุงเทพ ฯ : entraing.

คนึงนิจ. (2564). การตั้งเป้าหมาย. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายยน 2566 จากhttps://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=4208&pageid=25&read=true&count=true.

ณัฏฐนิธ กาลพัฒน์. (2565). การพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยทักษะการโค้ช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูล. (2560). โลกของการโค้ช. กรุงเทพ ฯ: เอ็ดดูเคชั่น ไมน์ด ไลน์ มัลติมีเดีย.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2560). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการ เรียนการสอน สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างจิตนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิมา สุขสว่าง. (2564). ทักษะการโค้ช (Coaching Skill) สำหรับผู้บริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ใต้บังคับบัญชา. ค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2566 จาก https://www.sasimasuk.com/16657170/ทักษะการโค้ช-coaching-skill-สำหรับผู้บริหาร

สหพันธ์การโค้ชนานาชาติ. (2019). สมรรถนะหลักของการโค้ช 8 ประการ. กรุงเทพฯ.

สุมลา พรหมมา. (2561). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้นำทางการพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา.

อนันต์ กันนาง. (2558). การนิเทศแบบ Coaching. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2566 จาก http://nainut.esdc.go.th/home/kar-nithes-baeb-coaching.

อัจฉรา จุ้ยเจริญ. (2558). คู่มือการโค้ช เพื่อผู้นำยุคใหม่ = Leader as coach. กรุงเทพฯ : แอคคอมแอนด์อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล.

อุทิศ ดวงผาสุข. (2560). การบริหารโดยการโค้ชเพื่อการพัฒนาองค์การ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11(26): 130 – 141.

Best John W. 1981. Research in Education. 3rd edition. Englewood cliffs, New Jersey : Prentice. Hall Inc.

Suzuki Yoshiyuki. (2021). Super Coaching. Bangkok : NanmeeBook.

Tabachnick, B.G., & Fidell, L.S. (2007). Using Multivariate Statistics. Fifth Edition. Boston: Pearson Education, Inc.