องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กฤติกา บุรีเพีย
รอง ปัญสังกา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานีและ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 400 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าดัชนี KMO และค่าชี้วัดความเหมาะสมของโมเดล


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี พบว่า มีองค์ประกอบจำนวน 4 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย และ 95 ตัวบ่งชี้ และ 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อปรับความสอดคล้องของโมเดลแล้ว ทำให้โมเดลองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามี ค่า Chi – square = 58.983 ค่า P – value = .439 ค่า GFI = .980 ค่า AGFI = .963 และค่า RMSEA = .007

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณิน คำแพง. (2563). โมเดลภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น : โมเดลแข่งขันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและภาวะผู้นำแบบดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2561). หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. มหาสารคาม : สุวีริยาสาส์น.

ปาริฉัตร นวนทอง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ, 13(1) : 1434 – 1449.

สมชาย รุ่งเรือง. (2560). รูปแบบการพัฒนาผู้นำสู่การสร้างแรงผลักดันเชิงสร้างสรรค์. Veridian E -Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 29 - 46.

สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2551). เอกสารประกอบการอบรม การใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสถิติชั้นสูง. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฮะฟีซุดดีน เจะมุ และวรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารอาชีวศึกษาจังหวัดปัตตานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 3(2) : 65 - 89.

Bessant, H. (2010). Exploring innovation. London : Berkshire.

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York : McGraw - Hill Book Co.

Seth, K. (2019). Visionary Leadership: How Association Leaders Embrace Disruption in the 21st Century. Retrieved July 7, 2023, from https://visionaryleadership.com/books/the-book/.

Stringer. (2002). Leadership and Organizational Climate. New Jersey : Prentice Hall.

Wudarzewski, G. (2019). Multidimensional Organizational Climate Measurement Inventory MOCMI - Verification of Author's Climate Model and Validation and Validation of the Tool. Central and Eastern European Journal of Management and Economics, 7(2) : 7 - 45.