แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อประสิทธิภาพการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35

Main Article Content

ดวงพร อุ่นจิตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อประสิทธิภาพการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาความต้องการการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อประสิทธิภาพการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อประสิทธิภาพการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จำนวน 161 คน ตรวจสอบแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย สูตรคำนวณค่าความต้องการจำเป็น และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อประสิทธิภาพการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย สมรรถนะการบริหาร 6 ด้าน และวิธีการพัฒนาสมรรถนะการบริหาร 6 วิธีการ 2) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการวางแผนและการจัดองค์กรเป็นลำดับแรก (0.232) รองลงมาคือ ด้านการสื่อสาร (0.227) ด้านมุ่งบรรลุผลลัพธ์ (0.223) ด้านการทำงานเป็นทีม (0.223) ด้านการสอนงานและการมอบหมายงาน (0.211) และด้านภาวะผู้นำและการจัดการคน (0.206) ตามลำดับ ในขณะที่ความต้องการพัฒนาด้วยวิธีการศึกษาดูงานเป็นลำดับแรก (0.282) รองลงมาคือ วิธีการสอนงานและการให้คำปรึกษา (0.266) วิธีการฝึกอบรม (0.257) วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (0.242) วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (0.235) และวิธีการสัมมนา (0.234) ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อประสิทธิภาพการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ประกอบด้วย 18 แนวทาง ซึ่งมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กชกร รุ่งหัวไผ่ และคณะ. (2558). สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้: กรณีศึกษาโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ลพบุรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 5(2), 101-117.

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562, 7 เมษายน). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1699

ชนภรณ์ อือตระกูล และคณะ. (2562). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 27-38.

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2561, 7 เมษายน). แนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อสนองพระราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10. http://op.chandra.ac.th/plan/images/pdf/Goverment-Policy-King_10.pdf

ประโยชน์ คล้ายลักษณ์ และคณะ (2556). พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทํางานเป็นทีมของ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(ฉบับพิเศษ), 136-145.

พวงรัตน์ เกสรแพทย์ และคณะ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มศักยภาพผู้นำเชิงวิชาการของหัวหน้ากลุ่มสาระ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1), 95-110.

พิชิต เทพวรรณ์. (2555). A-Z เครื่องมือการจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ร่วม ค้าเจริญ และคณะ. (2561). รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 112-122.

รัชนี พุทธาสมศรี. (2557). บทบาทของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในการส่งเสริมการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Ratchanee.Put.pdf

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตร อาวกุล. (2550). การฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ละเอียด เอี่ยมสุวรรณ. (2559, 3 สิงหาคม). ความแตกต่างระหว่างการประชุมราชการ VS การประชุมเชิงปฏิบัติการ. https://slideplayer.in.th/slide/14403778/

ลือชัย ชูนาคา และวิทยา จันทร์ศิลา. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 72-80.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2543). สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปวิชาชีพครู. สกศ.

สุนทร โสภาคะยัง และคณะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านวิชาการของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(1), 175-182.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553, 21 กุมภาพันธ์). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. http://gpa.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553, 30 พฤศจิกายน). คู่มือการกําหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะทางการบริหาร. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2547, 21 ธันวาคม). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. http://lertkrai.net/ivec/lawtec2547%20plus.pdf

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว 4 ลงวันที่ 21 มกราคม 2562.

Baber, C. S. (2000). Current and future managerial competency requirements for manufacturing, assembly, and /or material processing functions. University of Southern California. USA. (UMI Number: 3017986) [Doctoral Dissertation]. ProQuest Dissertations and Theses database.

Bestard, G. J. (1997). The work of secondary school department heads. The University of Western Ontario (Canada), Pro Quest Dissertations Publishing, MQ21060.

Chong, K.S.E. (1997). An empirical model of public sector managerial competency in Singapore (BL). Pro Quest Dissertations Publishing, MI 48106 – 1346.

International Atomic Energy Agency. (2019, 9 September). The Competency Framework: A guide for IAEA managers and staff. https://www.iaea.org/sites/default/files/18/03/competency-framework.pdf

Overgaard, R. J. (2006). Leadership development of secondary school department heads. Royal Roads University (Canada), Pro Quest Dissertations Publishing, MR14087.

Sinha, A. K. (2014, 10 April). Human Resource Training & Developing Model. Weschool, Bangalore. https://www.slideshare.net/adhishsinha1/group1hrmwe schoolbangalore

Sujata, S. (1999). A study of managerial competencies of effective educational managers. (ProQuest Number: 3741835). [Doctoral Dissertation]. ProQuest Dissertations and Theses database.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2016). UNESCO Competency Framework. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000245056

Yong, G. Lim-Chan C. (2006). The role of heads of department in cluster secondary schools in Singapore. University of Leicester (United Kingdom), Pro Quest Dissertations Publishing, U235174.