การศึกษานวัตกรรมการบริหารจัดการด้านปฐมวัยที่มุ่งเน้นความพร้อมและ คุณภาพสำหรับการส่งต่อ กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Main Article Content

นิตยา แข่งขัน
ทิพวรรณ พานเข็ม
ปกรณ์ชัย สุพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพการบริหารจัดการ และถอดบทเรียนนวัตกรรมการบริหารจัดการด้านการศึกษาปฐมวัย ที่มุ่งเน้นความพร้อมและคุณภาพสำหรับการส่งต่อกรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และ กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง จำนวน 30 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการจัดทำเวทีสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการถอดบทเรียนด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า


ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์สภาพการบริหารจัดการด้านการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยมีองค์ประกอบการบริหารจัดการ 7 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านกิจกรรมนักเรียน ด้านบริหารงานบุคคล ด้านธุรการ ด้านอาคารสถานที่ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน และด้านการติดตามและประเมินผล มีเป้าหมายมุ่งให้เกิดความพร้อมและคุณภาพของผู้เรียนภายใต้หลักคิด “รู้คิด จิตใจดี มีทักษะชีวิต สุขภาพแข็งแรง” 2) แนวปฏิบัติที่ดีนวัตกรรมการบริหารจัดการด้านการศึกษาปฐมวัยที่มุ่งเน้นความพร้อมและคุณภาพสำหรับการส่งต่อของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีกลยุทธเชิงนวัตกรรมภายใต้ 5C1D-Model ได้แก่ ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ปลูกจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน ประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ครอบคลุม ทันสมัย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ปรับระเบียบกฎเกณฑ์ที่ไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการ สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และปลุกเร้าให้ผู้ปกครองเห็น ความสำคัญของการศึกษา

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กัญญา โพธิวัฒน์. (2558). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนจัดการศึกษาปฐมวัยเพื่อสร้างรากฐานการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กัสมัสห์ อาแด. (2561). การพัฒนารูปชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือร่วมพลังของโรงเรียนประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

ชัยยุทธ์ ชวนประกอบ. (2555). การบริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอส.บี.ไอ.จำกัด.

นาวิน พรหมใจสา. (2560). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

นิตยา คชภักดี. (2553). พัฒนาการเด็กปฐมวัย. กุมารแพทย์สาขาพัฒนาการและพฤติกรรม. วิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.

บุญทัน ดอกไทสงค์. (2556). การจัดการองค์กร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดาวัลย์ ใจไว. (2558). การบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในจังหวัดภาคตะวันออก. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภางค์ จันทวาณิช. (2553). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวาณิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). การเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาปฐมวัย พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อาณัติ วงศ์จำปา. (2561). ร่วมกันสร้างสรรค์คุณภาพโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

อำรุง จันทวานิช. (2557). แนวทางการบริหารและพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.