แนวทางส่งเสริมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Main Article Content

ลำพึง บัวจันอัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) ศึกษาความต้องการใช้ห้องสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ     ศรีสะเกษ และ 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 370 คน ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด รวมจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  


ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เข้าใช้ห้องสมุดสัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง และ ใช้เดือนละ 1-2 ครั้ง เข้าใช้ห้องสมุดในช่วงเวลา (13.00 น.–16.00 น.) จุดประสงค์ในการเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อค้นคว้าเขียนรายงาน มีทัศนคติต่อการใช้บริการโดยเห็นว่าห้องสมุดมีความสำคัญต่อการศึกษาในมหาวิทยาลัย นักศึกษาส่วนใหญ่ทราบถึงวิธีการใช้ห้องสมุด ทรัพยากรสารนิเทศที่ใช้ คือ วารสารภาษาไทยและนิตยสาร มีวิธีใช้และวิธีการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ โดยสิ่งพิมพ์ที่ใช้เป็นภาษาไทย และคืนหนังสือโดยวิธีคืนที่จัดบริการให้คืนในห้องสมุดทุกครั้ง 2) ความต้องการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.51, S.D. = 0.70) เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความต้องการใช้บริการห้องสมุดอยู่ในระดับมาก คือ ด้านสภาพแวดล้อมและครุภัณฑ์ ( gif.latex?\bar{X}= 3.72, S.D. = 0.80) รองลงมาคือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ( gif.latex?\bar{X}=3.57, S.D. = 0.89) และด้านทรัพยากรสารสนเทศ (gif.latex?\bar{X} = 3.53, S.D. = 0.82) ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง และ 3) แนวทางส่งเสริมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พบว่ามีทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ ด้านบริการ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ด้านกิจกรรมและนิทรรศการ ด้านสภาพแวดล้อมและครุภัณฑ์ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการเรียนการสอน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2562). รายงานประจำปีงบประมาณ 2562. กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.

กุลวดี ทัพภะ และ ชุ่มจิตต์ แช่ฉั่น. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศแบบมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.วารสารสารสนเทศศาสตร์, 31(1), 13.

จุฬารัตน์ ช่างทอง. (2554). รูปแบบพฤติกรรมสารสนเทศของเยาวชนไทยจากการศึกษาโดยใช้ทฤษฎีฐานราก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุฬาลักษณ์ โรจนานุกูล สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์ และซูไฮดี สนิ. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิขัย.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ฐิติมา กลิ่นทอง. (2549). ความร่วมมือระหว่างอาจารย์กับบรรณารักษ์ในการบริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฎฐญา เผือกผ่อง. (2559). ความต้องการและพฤติกรรมการใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ดลณพร ใจบุญเรือง และ นันทิยา ตุลเตมีย์. (2557). ศึกษาความต้องการรูปแบบห้องสมุดและแนวทางการพัฒนาห้องสมุดของบุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย.

ทรงพันธ์ เจิมประยงค์. (2552). การให้บริการห้องสมุดสมัยใหม่ : แนวโน้มในปัจจุบันและความท้าทายในอนาคต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2554). การบูรณาการการรู้สารสนเทศในกระบวนการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปหลักสูตรระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นัสฤมล มาเจริญ. (2550). การประชาสัมพันธ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปฐมชาต แซ่อั้ง. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์การใช้ห้องสมุดกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

ประภาวดี เขียงคง. (2552). การส่งเสริมการใช้ห้องสมุดสำหรับนักศึกษาของห้องสมุดมหาวิทยาลัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลันดา สิทธิจักร และจิราภรณ์ จันทร์อารักษ์. (2551). ความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อการใช้บริการห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, ชลบุรี.

ลำพึง บัวจันอัฐ. (2559). ความคาดหวังของบุคลากรสายวิชาการต่อคุณภาพการบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ลำพึง บัวจันอัฐ. (2562). แนวทางการพัฒนาห้องสมุดที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

วรพรรณ กฤตอัญชลี. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการใช้สำนักวิทยบริการสวนสุนันทาของนักศึกษาสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาในระดับปริญญาตรี. สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

วรพจน์ วีรพลิน. (2550). ความต้องการรูปแบบห้องสมุดที่พึงประสงค์ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พ.ศ. 2550. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศุมรรษตรา แสนวา. (2552). แนวทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่องค์การคุณภาพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สยุมพร บุญไช. (2550). การใช้ห้องสมุดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สายธาร สุเมธอธิคม, โสภา ไทยลา และบัวระภา กลยนีย์. (2556). ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพการบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยใช้ LibQUAL+ TM มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

สิทธิชัย ลำธารทรัพย์. (2548). พฤติกรรมการใช้ห้องสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุนิษา ขันนุ้ย, ขวัญชนก วิริยกุลโอภาศ, ผกาทิพย์ ชูชาติ, บุญฤทธิ์ คงลาพูน, ธมลวรรณ ขุนไพชิต, เนาวลักษณ์ แสงสนิท, นพดล ชัยศิริ และปิติมา แก้วเขียว. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ใช้ห้องสมุดของนิสิตและบุคลากรและแนวทางส่งเสริม: กรณีศึกษาสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. 8(กรกฎาคม), 62-80.

สุภาพร ตั้งสุภาชัย. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพและความต้องการของนักศึกษาในการใช้บริการสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

อนันศักดิ์ พวงอก. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Connaway, L.S., Radford, M. L., Dickey T.J., Williams, J. D., & Confer, P. (2015). “Sense-making and synchronicity: information-seeking behaviors of millennials and babyboomers” In Connaway, Lynn Silipigni and et.al., The library in the life of the user: Engaging with people where they live and learn. (79-99). OCLC Research.

Ducas. A.M. and Michaud, O.N. (2003, 5 Oct). Toward a New Enterprise: Capitalizing on the Faculty-Librarian Partnership. http://crl.acrl.org/content/64/1/55.

Feldman, D. and Sciammarella, S. (2000). Both sides of the looking glass: Librarian and teaching faculty perceptions of librarianship at six community Colleges. College and Research Libraries, 61, 491-498.

Goldhor, Herbert. (1972). The Effect of Prime Display Public Circulation of Selected Adulated Titles. http://www.eric.ed.gov/ERICDOS/

Griffiths, J. R., & Brophy, P. (2005). Student searching behavior and the web: Use of academic resources and google. Library Trends, Spring, 539-554.

Heinrichs, John; Sharkey, Thomas and Lim, Jeen-Su. (2005). Relative influence of the LibQUAL+TM dimensions on satisfaction: a subgroup analysis. College & Research Libraries, 66(3), 248-265.

Krejcie Robert V. and Daryle W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological. 3, 606-610.