การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

Main Article Content

จิตรกร จันทร์สุข
จีรนันท์ วัชรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ 1) การศึกษาเอกสาร ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของนักวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำดิจิทัล เพื่อทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัล และระยะที่ 2) การยืนยันองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลตามกรอบการสังเคราะห์เอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ และ 15 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศการใช้เทคโนโลยี มีตัวบ่งชี้ 3 ข้อ คือ (1) ผู้บริหารสร้างวัฒนธรรมการทำงานและบรรยากาศสถานศึกษาให้มีการใช้ดิจิทัล (2) ผู้บริหารสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้บนโลกยุคดิจิทัล และ (3) ผู้บริหารสร้างวัฒนธรรมองค์การโดยให้ครูสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีในการเรียนการสอน 2) การมีวิสัยทัศน์ มีตัวบ่งชี้ 3 ข้อ คือ (1) ผู้บริหารสามารถมองการณ์ไกลเพื่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร (2) ผู้บริหารสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล และ (3) ผู้บริหารมีกลยุทธ์ที่สนับสนุนเป้าหมายขององค์กร 3) การเป็นผู้นำดิจิทัล มีตัวบ่งชี้ 3 ข้อ คือ (1) ผู้บริหารปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่สามารถใช้ดิจิทัล (2) ผู้บริหารสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากร และ (3) ผู้บริหารเป็นผู้ให้คำปรึกษากับบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ความสามารถการใช้ดิจิทัล มีตัวบ่งชี้ 3 ข้อ คือ (1) ผู้บริหารมีความรู้เกี่ยวกับแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีใหม่ ๆ (2) ผู้บริหารมีความคิดสร้างสรรค์ด้านดิจิทัลและค้นพบวิธีใหม่ ๆ และ (3) ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเทคนิคทางด้านดิจิทัล และ 5) การบริหารจัดการโครงสร้าง มีตัวบ่งชี้ 3 ข้อ คือ (1) ผู้บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) ผู้บริหารสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ส่วนบุคคลในการทำงานร่วมกัน และ (3) ผู้บริหารสามารถปรับปรุงสารสนเทศและเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพการศึกษา. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กัลยารัตน์ เที่ยงธรรม. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership (ครั้งที่ 3). บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.

ชูชาติ พุทธลา. (2561). องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิยาลัยขอนแก่น.

ชวลิตร เกิดทรัพย์ และคณะ. (2552). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ (ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์), 15(1), 141-160.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2562). ศาสตร์และศิลป์ทางการบริหารการศึกษา. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปกรณ์ สีสกุล. (2561). Leadership in Digital Era: ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. https://goo.g/n.JP8MZ.

ภานุมาศ จันทร์ศรี. (2562). โมเดลการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. ทิพย์วิสุทธิ์.

สมศักดิ์ จีวัฒนา. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุกัญญา แซ่มซ้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชญา โกมลวานิช และคณะ. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. ใน สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน (บ.ก.) การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 (น.700-708). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2561-2564. https://www.depa.or.th/th/master-plan-digital-economy/1st- master-plan-for-digital-economy.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). บทความออนไลน์สานพลังประชารัฐ. http://www.pracharathschool.go.th/skil/detai/52232.

อุรุดา สุดมี และคณะ. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเฉพาะความพิการ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 11(2), 7-16.

Elliott, T. (2017). Digital Leadership: A Six-Step Framework for Transformation. http://www.digitalistmag.com/author/telliott.

Gerald C. Kane. (2018). Common Traits of the Best Digital Leaders. http:// sloanreview.mit.edu/article/common-traits-of-the-best-digital-leaders/. International Society for Technology in Education (2018). ISTE STANDARDS FOR

EDUCATION LEADERS. https://www.iste.org/standards/foreducationleaders.

Petry, T. (2016). Digital Leadership: Erfolgreiches Fuhren in Zeiten der Digital Economy. Haufe.

Ribble, M., Bailey, G.D., & Ross, T.W. (2004). Digital citizenship: Addressing appropriate technology behavior. Learning & Leading with Technology, 32(1), 6.

Sheninger, E. C. (2014). Digital Leadership: changing paradigms for changing times. United State of America: Corwin.

Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. https://www.cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs/.

Tran, L. (2017). Digital Transformation: The 5 Must-Have Skills for Digital Leaders. https://www.inloox.com/company/Blog/articles/digital-transformation-the-5-must-have-skills-for-digital-leaders/.

Zhu, P. (2016). Five Key Elements in Digital Leadership. http://futureofcio.blogspot.com/2015/01/five-key-elements-in-digitalleadership.html.