การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

Main Article Content

สุภาภรณ์ หมั่นหา
ชลธิชา แสงงาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชรดังนี้ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชรที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร 3) เพื่อศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร 4) เพื่อประเมินเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชรที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 400 คน เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านการท่องเที่ยว การจัดการสนทนากลุ่ม กับกลุ่มภาคีที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชรโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 13 คน เพื่อศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสม และการทดลองกิจกรรม การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุพร้อมแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อเส้นทางการท่องเที่ยวกับกลุ่มตัวแทนผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีชื่อเสียง มีจำนวน 15 แหล่ง เมื่อพิจารณาโดยใช้เกณฑ์การประเมินศักยภาพทั้ง 4 องค์ประกอบ ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่ผ่านการประเมิน จำนวน 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 73.33 เมื่อพิจารณาตามประเภทของแหล่งท่องเที่ยว ที่ผ่านเกณฑ์ การประเมินมากที่สุด คือ แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองลาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง และบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน โดยลักษณะการท่องเที่ยว นิยมท่องเที่ยวเป็นแบบกลุ่มหรือหมู่คณะ ซึ่งลักษณะการจัดการเดินทางมีการเดินทางด้วยตนเอง และมีผู้ร่วมเดินทางเป็นครอบครัว/ญาติ โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมคือ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เส้นทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน/ประวัติศาสตร์ รวมถึงบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และตลาดย้อนยุคนครชุม จากผลการประเมินเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชร ที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ซึ่งได้ประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มีต่อเส้นทางท่องเที่ยวในจังหวัด พบว่าระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อด้านสถานที่ท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านเส้นทางการท่องเที่ยว

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรวรรณ สังขกร และคณะ. (2555). การประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวแบบ Slow Tourismในภาคเหนือตอนบนที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2555 – 2559. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กลุ่มสถิติประชากร. (2560). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

เกศรา สุกเพชร และวารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษา พื้นที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะและชุมชนรอบจังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยพะเยา.

จักรกฤษณ์ แสนพรหม. (2556). ความจำเป็นในการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุและผู้สูงอายุในพื้นที่ กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นพระธาตุบริวารของพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม. [โครงงานปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ดวงดาว โยชิดะ, ชวลีย์ ณ ถลาง, สิทธินันทน์ พรหมสุวรรณ และสหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2561). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(ฉบับพิเศษ), 127-137.

นิศา ชัชกุล. (2557). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 6). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2549). ธุรกิจนําเที่ยว. เพรส แอนด์ ดีไซน์.

พงศ์เสวก เอนกจำนงค์พร. (2559). รูปแบบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รชพร จันทร์สว่าง. (2546). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สิน พันธ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วิทยพัฒน์.

สุวัฒน์ จุธาภรณ์ และ จริญญา เจริญสุกใส. (2544). แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

อุทัย สุดสุข และคณะ. (2552). รายงานการวิจัยโครงการศึกษาสถานการณ์ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันความต้องการและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.