ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและความพึงพอใจ ในการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วีระศักดิ์ จินารัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมผู้บริโภคและความพึงพอใจในการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมกันของปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาอิทธิพลขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการพยากรณ์ โดยผู้วิจัยพัฒนาแบบสอบถามชนิดมาตรวัด 5 ระดับจำนวน 34 ข้อขึ้นมาจากแนวคิดและทฤษฎีของ Kotler Khurana และ Groth & Grandey มาเป็นฐานในการคิด หลังจากนั้นจึงได้นำไปเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างแบบง่ายโดยได้รับแบบสอบถามคืนมาจากประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 318 คน มาใช้ในการวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ที สถิติทดสอบเอฟ และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลวิจัยพบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคและความพึงพอใจของลูกค้ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทั้งตัวแปรหลักและองค์ประกอบ โดยมีค่าเฉลี่ย 4.25 เท่ากันทุกตัวแปร อีกทั้งยังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามรายได้ การประกอบอาชีพ โดยมีผลทดสอบ F = 2.92, 3.13 (p-value= 0.009, 0.026) ตามลำดับในขณะที่การประกอบอาชีพ รายได้ กับชนิดของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เลือกซื้อจะส่งผลต่อช่องทางการได้รับข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่า R2 =0.22 นอกจากนี้ ช่องทางการได้รับข้อมูล การเติมเต็ม และความไว้วางใจสามารถพยากรณ์ร่วมกันได้ต่อความพึงพอใจของลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่สำคัญผลการวิจัยยังได้แสดงให้เห็นอิทธิพลร่วมกันของตัวแปรทั้งสามดังกล่าวต่อการพยากรณ์ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่สัมประสิทธิ์รวมกันเท่ากับ R2 = 0.04 อันเป็นเหตุผลสำคัญทำให้ผู้ค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องปรับปรุงอาคารสถานที่ และการฝึกอบรมความรู้ความสามารถด้านการบริการลูกค้าให้กับพนักงาน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2563, มกราคม). เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ: ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. www.oie.go.th

วิจัยกรุงศรี. (2563, 14 ตุลาคม). อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า : แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-65. https://www.krungsri.com/bank/getmedia/c5012640-5233-47b3-9327-30e242b940af/IO_Electrical_Appliances_200129_TH_EX.aspx

พสชนันท์ บุญช่วย และธีระวัฒน์ จันทึก. (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านความสนใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของ เจอเนเรชั่น Y. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 39(1), 22-36.

ยุวดี ภู่สำลี. (2555). การศึกษาพฤติกรรม และแนวโน้มการใช้เครื่องไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ของครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร, รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วีระศักดิ์ จินารัตน์ (2564). ระเบียบวิธีวิจัยสมัยใหม่ (Modern Research Methodology). อุบลราชธานี: สำนักพิมพ์ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป

สุวิมล ฐิติวิศิษฎ์, อภิสรดา อุสาแสง และสุภาวรรณ พันธ์วิไล. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของลูกค้าบริษัท ไมด้าแอสเซ็ท จำกัด สาขาตลิ่งชั่น. โครงงานปฏิบัติสหกิจศึกษา. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.

สุภัทรา สงครามศรี. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้า และผลประกอบการของธุรกิจค้าปลีก ในจังหวัดสุรินทร์, วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(6), 73-89.

Busch, G., Kuhl, S. & Gauly, M. (2018). Consumer expectations regarding hay and pasture-raised milk in South Tyrol. Austrian Journal of Agricultural Economics and Rural Studies, 27(11), 79-86.

Cavallo, A. (2017). Are online and offline prices similar? Evidence from large multi-channel retailers. The American Economics Review, 107(1), 283-303.

Konuk, F.A. (2019). The influence of perceived food quality, price fairness, perceived value and satisfaction on customer revisit and world-of-mouth intentions towards organic food restaurant. Journal of Retelling and Consumer Service, 50, 101-110.

Lombart, C., Millan, E., Normand, J.M., Verhulst, A., Labbe, B. & Moreau, G. (2020). Effects of physical, non-immersive virtual, and immersive virtual store environments on consumers’ perception and purchase behavior. Computer Human Behavior, Doi10.1016/j.chb.2020.106374

Markova-Nenova, N. &Watzold, F. (2018). Fair to the cow or fair to the farmer? The preferences of conventional milk buyers for ethical attributes of milk. Land Use Policy, 79, 223-239.

Oliver, R.L. (1992). An investigation of the attribute basis of emotion and related affects in consumption: Suggestion for a stage-specific satisfaction framework. Advances in Consumer Research, 19, 237-244.

Singh, J. & Ordonez, I. (2016). Resource recovery from post-consumer waste: important lessons for the upcoming circular economy. Journal cleaner Prod, 134, 342-353.

Stampa, E., Schipmann-Schwarze, C. & Hamm, U. (2020). Consumer perceptions, preferences, and behavior regarding pasture-raised livestock products: A review. Food Quality and Preference, Doi.10.1016/j.foodqual.2020.103872.

Singh, J. & Ordonez, I. (2016). Resource recovery from post-consumer waste: important lessons for the upcoming circular economy. Journal cleaner Prod, 134, 342-353.

Stampa, E., Schipmann-Schwarze, C. & Hamm, U. (2020). Consumer perceptions, preferences, and behavior regarding pasture-raised livestock products: A review. Food Quality and Preference, Doi.10.1016/j.foodqual.2020.103872.

Wirtz, J. & Bateson, J. (1999). Consumer Satisfaction with Services: Integrating the Environment Perspective in Services Marketing into the Traditional Disconfirmation Paradigm. Journal of Business Research, 44(1), 55-66.

Yang, Z. & Peterson, R.T. (2004). Customer perceived value, satisfaction, and loyalty: The role of switching costs. Psychology & Marketing, 21(10), 799-822.

Yongpisanphob, W. (2020, 30 July). แนวโน้มธุรกิจ อุตสาหกรรม ปี 2563-2565 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Energy-Utilities/Power-Generation/IO/io-power-generation-20.