การพัฒนากระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับวิธีสอนแบบปฏิบัติการ เรื่องธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนากระบวนการสอน 2) พัฒนากระบวนการสอน 3) ทดลองใช้กระบวนการสอน 4) ประเมินผลการใช้และปรับปรุงแก้ไข กระบวนการสอนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับวิธีสอนแบบปฏิบัติการ เรื่อง ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 โรงเรียนสีชมพูศึกษา จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Sample random Sampling) กลุ่มตัวอย่างในการออกแบบการสอน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการสอน แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ควรให้มีการออกแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นำเทคนิควิธีสอนที่หลากหลายมาใช้ในกระบวนการสอน และผลการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ครูควรปรังปรุงการออกแบบการสอนและให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น 2) กระบวนการสอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการสอน และการวัดประเมินผล กระบวนการสอนมี 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ตรวจสอบความรู้เดิม ขั้นที่ 2 เร้าความสนใจ ขั้นที่ 3 สำรวจค้นหา ขั้นที่ 4 อธิบาย ขั้นที่ 5 ขยายความรู้ ขั้นที่ 6 ประเมินผล และขั้นที่ 7 นำความรู้ไปใช้ 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และผู้เรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กมลวรรณ ทับโต. (2561). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7E เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน :องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทิยา บุญเคลือบ. (2540). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด Constructivism.วราสาร สสวท, 96, 11-15.
มณเฑียร ส่งเสริม. (2561). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.
มุฑิตา พูนวิเชียร. (2561). ผลการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนสีชมพูศึกษา. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา 2561-2562. ขอนแก่น: โรงเรียนสีชมพูศึกษา.
วิมัณฑนา หงส์พานิช. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศศิวัฒน์ เดชะ. (2561). ที่ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์และการคิดวิเคราะห์ในวิชาชีววิทยา เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น โดยเน้นระดับของการสืบเสาะ. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาชีววิทยาศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2541). แก่นแท้ของการเรียนการสอน คือการเรียนรู้ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง) พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Balta, N., & Sarac, H. (2016). The Effect of Learning Cycle Models on Achievement of Students: A Meta-Analysis Study. International Journal of Educational Methodology 4(1): 1-18.
Barman, Charles R. and Kotar, Michel. (1989). The Learning Cycle. Science and Children, 26(7), 30-32.
Bloom, B. S., Hastings, J. T., & Madaus, G. F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGaw-Hill.
Dick, Walter, Lou Carey & James O. Carey. (2005). The Systematic Design of Instruction (6th ed). Boston: Allyn and Bacon.
Elsenkraft, Arthur. (2003). Expanding the 5Es model: A proposed 7E emphasizes “Transferring of Learning” and the importance of eliciting prior understanding”. The Science Teachers, 70(6), 56-59.
Hill, N., & Alexander, J. (2000). Handbook of customer satisfaction and loyalty measurement. Burlington: Gower.
Joyce, B, & Weil, M. (1996). Model of teaching (5th ed). Boston: Allyn and Bacon.
Kuslan, Louis I, and Stone, A Harie. (1968). Teaching Children Science: and Inquiry Approach. California: Edward Publishing Co.
Muhammad Naqeebul Khalil Shaheen. (2016). Improving Students’Achievement in Biologyusing 7E Instructional Model: AnExperimental Study. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(4), 471-481.
Maskur, R., Latifah, S., Pricilia, A., Walid, A., & Ravanis, K. (2019). The 7E learning cycle approach to understand thermal phenomena. Journal Pendidikan IPA Indonesia, 8(4), 464-474.
Somers, R.L. (2006, 12 December). Putting down roots in environmental literacy: A study of middle school student participation in Louisiana sea grant's coastal roots project. http://etd.lsu.edu/docs/available/etd0414 2005104733/unrestricted/Somers thesis.pdf.
Torrance, E. P. (1962). Guiding Creative Talent. New Jersey: Prentice-Hall.
Torrance, E. P. (1980). Growing up creatively gifted: A 22-year lon-gitudinal study. Creative Child and Adult Quarterly, 5(3), 148–158.
Yadav, B. & Mishra, S. (2013). A Study of the Impact of Laboratory Approach on Achievement and Process Skills in Science among Is Standard Students. International Journal of Scientific and Research Publications, 3(1), 1-6.