การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ ด้านการใช้พลังงานทดแทน กรณีศึกษาโรงเรียนศรีแสงธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านพลังงานทดแทน กรณีศึกษาโรงเรียนศรีแสงธรรม 2) เพื่อสร้างแนวทางการการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านพลังงานทดแทน กรณีศึกษาโรงเรียนศรีแสงธรรม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา บุคคลในชุมชน โรงเรียนศรีแสงธรรม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย ซึ่งเป็นการสรุปข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการบันทึก คำนวณค่าสถิติพื้นฐาน โดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านพลังงานทดแทน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านพลังงานทดแทน พบว่า 1) ด้านวิชาการ มีแนวทางการพัฒนา คือ การจัดทำหลักสูตรบูรณาการด้านพลังงานทดแทนและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการสอน สื่อนวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ ให้นักเรียนเกิดทักษะในการประกอบอาชีพ 2) ด้านงบประมาณ มีแนวทางการพัฒนา คือ การบริหารงบประมาณตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผสมผสานกับความรู้ด้านเทคโนโลยี 3) ด้านบริหารงานบุคคล มีแนวทางการพัฒนา คือ ครูเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มีวิสัยทัศน์ในทิศทางเดียวกัน พัฒนาให้ครูในจุดเน้นด้านพลังงานทดแทน 4) ด้านการบริหารทั่วไป มีแนวทางการพัฒนา คือ การสร้างเครือข่ายกับหน่วยงาน โดยเครือข่าย 2 ประเภท คือ เครือข่ายแบบเป็นทางการ กับเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการ
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงาน. (2563, 21 กันยายน). รายงานการอนุรักษ์ พลังงานของประเทศไทย 2555.http://www.dede.go.th/dede/images/stories/stat_dede/efficienty_1012/thailand%20eenrgy%20efficiency%20situation%202012.pdf
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2562, 15 สิงหาคม). อาเซียนใช้อะไรผลิตไฟฟ้า. https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1887:20170310-art11&catid=49&Itemid=251
จุฑามาส พัฒนศิริ. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
จุลพงษ์ อุดมพรพิบูล. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจและทัศนคติด้านพลังงาน (Energy literacy) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา: กรณีศึกษา 3 อำเภอในจังหวัดลพบุรี. รายงานการวิจัยสาขาวิชา เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.
วิสาขา ภู่จินดา. (2556). การบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตพลังงานใช้ในระดับชุมชนและ
ระดับครัวเรือน: กรณีศึกษาชุมชนเกาะพะลวย. รายงานวิจัยคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ปทุมธานี.
ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล และคณะ. (2563). ระบบสาธิตผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชนฐานรากระดับครัวเรือน. รายงานวิจัยหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. จันทบุรี.