คุณภาพชีวิตของนักศึกษาคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ชั้นปีที่ 1 – 4 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 142 คน จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-Bref-Thai) ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล และส่วนที่ 2 แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย ที่มีลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 26 ข้อ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของนักศึกษาคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกทุกชั้นปี อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตแต่ละชั้นปีรายข้อแต่ละด้าน พบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มีระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา และคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในการจัดการเรียนการสอนรวมทั้งการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกมีคุณภาพชีวิตที่ดี
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กมลรัตน์ ทองสว่าง. (2560). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารสาระคาม, 8(2), 1–14. https://numis.cpru.ac.th/teacher/research/upload/2558_2020-02-13_168_nurse31.pdf
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และวราณี พรมานะรังกุล. (2545, 21 กรกฎาคม). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). กรมสุขภาพจิต.
https://www.dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf
ทัศนียา เหลาทอง. (2558). การวัดคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ปีการศึกษา 2558 [ภาคนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2551). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์ และเบญจวรรณ พิททาร์ด. (2557). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(1), 97-108. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/19951/17408
เพ็ญจมาศ คำธนะ, สรัลรัตน์ พลอินทร์, ภคพร กลิ่นหอม และพงษ์ศักดิ์ ป้านดี. (2562). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 123-133. https://e-library.siam.edu/e-journal/wp-content/uploads/2019/09/JNSU-vol19-no38-jan-jun2019-123-133.pdf
ศิริกัญญา แก่นทอง. (2564). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(1), 210-229. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/download/246844/169374/
สุพรรณิการ์ มาศยคง. (2554) คุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2554/b171728.pdf
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. (2560, 10 พฤษภาคม). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. http://dmsic.moph.go.th/index/detail/6991
วิทยา บุญเลิศเกิดไกร และชาติชาย คล้ายสุบรรณ. (2558). ปัจจัยด้านความเครียดกับคุณภาพชีวิตของนิสิตแพทย์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี. บูรพาเวชสาร, 2(1), 4-14. https://tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/download/119237/91253/
อนันต์ตรี สมิทธิ์นราเศรษฐ์ และศุภามณ จันทร์สกุล. (2561). การศึกษาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(4), 562 – 576. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/171095/122939
Moritz, A. R. Pereira, E. M. Borba, K. P. Clapis, M. J. Gevert, V. G. Mantovani, M. F. (2016). Quality of life of undergraduate nursing students at a Brazilian public university. Invest Educ Enferm, 34(3), 564-572. http://www.scielo.org.co/pdf/iee/v34n3/2216-0280-iee-34-03-00564.pdf
Shareef, M. A. AlAmodi, A. A. Al-Khateeb A. A. Abudan, Z. Alkhani, A. A. Zebian, S. l. Qannita, A. S. & Tabrizi, M. J. (2015). The interplay between academic performance and quality of life among preclinical students. BMC Med Educ, 15(193), 1-8. https://bmcmededuc.biomedcentral.com/track/pdf/10.1186/s12909-015-0476-1.pdf
World Health Organization. (1998). The World Health Organization Quality of Life User Manual. Switzerland: Division of Mental health and prevention of substance abuse, World Health Organization.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper and Row.