การบริหารกลุ่มสินค้าในการจัดหาเชิงกลยุทธ์ตามมาตรฐาน ISO 20400:2017 กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี

Main Article Content

จุฑาทิพย์ สุรารักษ์
เนติมา ทำทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารกลุ่มสินค้าในการจัดหาเชิงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ที่จะนำประเด็นทางด้านความยั่งยืน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เข้ามาใช้พิจารณาในกระบวนการจัดหาเชิงกลยุทธ์ในส่วนของการบริหารกลุ่มสินค้า ซึ่งจะนำไปใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ตลาดผู้ค้าที่โดยทั่วไปแล้วจะวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดหาร่วมกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายเท่านั้น สำหรับงานวิจัยนี้ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความยั่งยืนร่วมด้วย โดยขอบเขตของกลุ่มสินค้าที่นำมาวิเคราะห์ในการวิจัยครั้งนี้คือ สารเร่งปฏิกิริยาเคมี ผลการวิจัยพบว่าการกำหนดกลยุทธ์การจัดหาที่มีการนำประเด็นทางด้านความยั่งยืนเข้ามามีบทบาทในการวิเคราะห์ตลาดผู้ค้าสำหรับสินค้าในกลุ่มสารเร่งปฏิกิริยาเคมีนั้น ยังไม่แตกต่างจากการใช้ผลของการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดหาเพียงด้านเดียวร่วมกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้มีระดับของความเสี่ยงด้านความยั่งยืนอยู่ในระดับสูง เมื่อนำความเสี่ยงทั้งสองด้านมาวิเคราะห์ร่วมกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายแล้ว ทำให้สินค้าในกลุ่มนี้ ยังคงอยู่ในตำแหน่งของกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงในตัวแบบการแบ่งประเภทของสินค้าในการจัดซื้อ อย่างไรก็ตามบริษัทกรณีศึกษาเลือกที่จะเพิ่มการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความยั่งยืนนี้ ลงไปในกระบวนการบริหารกลุ่มสินค้าในการจัดหาเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากพบว่าการนำประเด็นทางด้านความยั่งยืนไปใช้จริงในการวิเคราะห์ตลาดผู้ค้าสำหรับกลุ่มสินค้าอื่น ๆ ส่งผลให้การกำหนดกลยุทธ์การจัดหาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ, มัทธนา พิพิธเนาวรัตน์, และ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์. (2556). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ: Professional Risk Management. แมคกรอ-ฮิล.

ชไมพร ปานเหล็ง. (2560). กลยุทธ์การจัดซื้อสำหรับเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟีตกแต่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository. http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/59634/1/5871239521.pdf

พิมพ์ปวีณ์ ปฏิวรโต และ สิริอร เศรษฐมานิต. (2554). กระบวนการจัดซื้อแบบบูรณาการ : กรณีศึกษาโรงกลั่นน้ำมัน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 34(133), 33-62. https://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1970

สาธิต พะเนียงทอง. (2552). หลักการจัดการ Supply: การจัดหาเชิงกลยุทธ์. สยาม เอ็ม แอนด์ บี พับลิชชิ่ง.

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. (ม.ป.ป.). มาตรฐานการจัดซื้ออย่างยั่งยืน.https://www.masci.or.th/sustainable-procurement-standard/

สุนทรี กมลสิริภาส. (2560). การบริหารความเสี่ยงในซัพพลายเชนบริบทอุตสาหกรรมผลิตก๊อกน้ำ กรณีศึกษา บริษัทผลิตก๊อกน้ำแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5623032074_3656_5953.pdf

อภิญญา ขนุนทอง. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-2565: อุตสาหกรรมปิโตรเคมี. Krungsri Research. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Petrochemicals/Petrochemicals/IO/io-petrochemicals-20

O'Brien, J. (2010). Category Management in Purchasing: A Strategic Approach to Maximize Business Profitability. Journal of Purchasing and Supply Management, 16(2), 149-149. https://doi.org/10.1016/j.pursup.2010.03.005

Kraljic, P. (1983). Purchasing must become supply management. Havard Business Review, September-October 1983. https://abaspro.com.ar/wpcontent/uploads/2019/05/Kraljic.pdf

SDG Move. (n.d.). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ SDGs. https://www.sdgmove.com/sdg-101/

Magalhaes, T., Eckhardt, D., & Leiras, A. (2017). Sustainable procurement portfolio management: A case study in a mining company. Production, 27, e20162136. https://doi.org/10.1590/0103-6513.213616