การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อผสมวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ

Main Article Content

วิลดา ศรีทองกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อผสมวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนการสอนและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ ภาคพิเศษ ปีการศึกษา 2562 มีจำนวน 40 คน โดยการโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อผสม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และใช้สูตรการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ


ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อผสม มีประสิทธิภาพ 82.13/82.50 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.65 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.05 คะแนนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 24.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.92 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อผสมมีในระดับมาก ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้น

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กิติยารัตน์ ธีรภัคสิริ,ลดาวัลย์ วัฒนบุตร, และณรงฤทธิ์ โสภา. (2564, 15 มกราคม). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Books) สามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคอาเซียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร. https://chair.rmu.ac.th/file-paper/sahachai.ng@gmail.com20170228201920.pdf

ฑีรณัท ขันนาค, และสุทัศน์ นาคจั่น. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(3), 44-54.

เพ็ญนภา คล้ายสิงโต. (2564, 15 มกราคม). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: โครงสร้างวลี ในภาษาอังกฤษตามหลักวากยสัมพันธ์ สำหรับนิสิตสาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยพะเยา. file:///C:/Users/Lenovo/AppData/Local/Packages/Microsoft.MicrosoftEdge_8wekyb3d8bbwe/TempState/Downloads/227781-Article%20Text-848131-1-10-20200824%20(1).pdf

ปทิตตา สัตตภูธร. (2562). ผลของการใช้เทคนิคการสอนอ่าน SQ3R ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลลิดา เกตุเอม. (2555). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Food and Drink ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนวัดนาขวาง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564, 25 มกราคม). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๒. www.bpp.mua.go.th/main/download/plan/EducationPlan12.pdf

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2562, 30 สิงหาคม). ผลการเรียนวิชภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนภาคเรียนที่ 2/2561 หมู่ 40 และหมู่ 41. https://reg.dru.ac.th/registrar/auth_needed.asp

สิริภัทร เมืองแก้ว, และกุลสิรินทร์ อภิรัตน์วรเดช. (2563, 15 สิงหาคม). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book รายวิชา ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน(ภาษาจีน) สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. file:///C:/Users/Lenovo/AppData/Local/Packages/Microsoft.MicrosoftEdge_8wekyb3d8bbwe/TempState/Downloads/167043-Article%20Text-467282-1-10-20190118%20(3).pdf

เสาวลักษณ์ ญาณสมบัติ. (2545). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องนวัตกรรมการสอนที่ยึด ผู้เรียนเป็นสำคัญ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bickel, J. (2017). Electronic books or print books for increased reading comprehension and vocabulary acquisition in third grade students. Humboldt State University.

Campbell, A. (1976). Subjective measure if well-being. American psychologist, 31(1), 117-124.

Fathi M. Ihmeideh. (2019, 24 March). The effect of electronic books on enhancing emergent literacy skills of pre-school children. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0360131514001596