การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความเชื่อมั่นในตนเองของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 2) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 27 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการทดลองจำนวน 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง แบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนของนักเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ 2) ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นในตนเองของนักศึกษาหลังจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงขึ้นอยู่ในระดับมาก จากการสังเกตพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความมั่นใจในการร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นภาษาอังกฤษในกลุ่มและการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้คล่องแคล่วมากขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อความในแบบบันทึกการเรียนรู้พบว่านักศึกษาได้แสดงถึงความมั่นใจในตนเอง และความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียนมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา. (2553). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในการเรียนวิชาหลักการตลาด โดยการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning). วิจัยในชั้นเรียน. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ณรงค์เดช ชัยเนตร. (2545).ผลของการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดชัยชนะสงคราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2553). การจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต (0021311). มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
เดชดนัย จุ้ยชุม เกษรา บ่าวแช่มช้อย ศิริกัญญา แก่นทอง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024- 112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning). วารสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 47-57.
ธัญทิพ บุญเยี่ยม. (2562). ปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในที่ชุมชนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 3(2), 47-58.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556).การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9).สุวีริยาสาส์น.
วิจารณ์ พานิช. ( 2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
Angela M. (1997). Student empowerment in an English language enrichment programme: An action research project in Hong Kong. Educational Action Research. 5(2), 305-320.
Bonwell, C.; Eison, J. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom AEHE-ERIC Higher Education Report. https://eric.ed.gov/?id=ED336049Camacho, D.J. and Legare, J.M. (2015). Opportunities to Create Active Learning Techniques in the Classroom. Journal of Instructional Research, 4, 38-45.
Cambridge International Education Teaching and Learning Team. (2021, 1 September). Getting started with active learning. https://www.cambridge- community.org .uk/professional-development/gswal/index.html.
Chiu, P., & Cheng, S. (2017). Effects of active learning classrooms on student learning:
a two-year empirical investigation on student perceptions and academic performance. Higher Education Research and Development, 36(2), 269-279.
Hutchinson, M. (2562). Developing Self-Confidence in Students Learning English Listening & Speaking Skills II. Case Study: Students from The Department of Service Industry and Language Innovation Kasetsart University, Kampheng Saen Campus.วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 349-369.
Mello, D., & Less, C. (2013). Effectiveness of active learning in the arts and sciences.Humanities Department Faculty Publications & Research.https://scholarsarchive. jwu.edu/humanities_fac/45/Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning. Strategies for the College Classroom. Jossey-Bass
Prince M. (2004). Does active learning work? A review of research. Journal of Engineering
Education, 93(3), 223-231.
Shrauger, J. S., & Schohn, M. (1995). Self-confidence in college students: Conceptualization measurement, and behavioral implications. Assessment, 2, 255–278.