การพัฒนาทักษะการอ่านตัวพินอินภาษาจีนโดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ชนากานต์ ขำดำรงเกียรติ
ชมพูนุท เมฆเมืองทอง
สุรกานต์ จังหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านตัวพินอินภาษาจีน โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านตัวพินอินภาษาจีน โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ประกอบแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านตัวพินอินภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ประกอบแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านตัวพินอินภาษาจีน โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ประกอบแบบฝึกทักษะ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลกิติยา อำเภอเมืองฯ จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน 2) แบบฝึกทักษะการอ่านตัวพินอินภาษาจีน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านตัวพินอินภาษาจีน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านตัวพินอินภาษาจีน โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ประกอบแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จึงมีประสิทธิภาพ 85.11/84.72 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนทักษะการอ่านตัวพินอินภาษาจีนหลังเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ประกอบแบบฝึกทักษะ คิดเป็นร้อยละ 84.72 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อต่อกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านตัวพินอินภาษาจีน โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ ประกอบแบบฝึกทักษะ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่าง ประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

แจ็ค ยู. (2546). การสะกดเสียงภาษาจีน. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

นิจพร จันทรดี. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาจีนเพื่อความเข้าใจด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของฮันเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารช่อพะยอม, 26(1), 134-138.

วราภรณ์ อาจคำ. (2554). การพัฒนาทักษะการอ่าน เพื่อความเข้าใจ วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วัฒนธรรมที่น่าสนใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนของฮันเตอร์. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 72-73.

วราภรณ์ จันดำ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาจีนด้านทักษะการอ่านตัวพินอิน โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(1), 32-37.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์จีนศึกษา. (2552). ตำราเรียนภาษาจีนระดับอุดมศึกษา 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chinese Testing International. (n.d.). Introduction on New Youth Chinese Test (YCT) level II for Elementary and Secondary School Students. http://www.chinesetest.cn/userfiles/file/dagang/YCT2.pdf