การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับวิธีการสอนแบบ MIAP รายวิชาระบบฐานข้อมูล สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับวิธีการสอนแบบ MIAP รายวิชาระบบฐานข้อมูล 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลทางการเรียน เป็นข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ 3) แบบประเมินทักษะด้านคอมพิวเตอร์ เป็นแบบฝึกปฏิบัติ จำนวน 8 ข้อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 44 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ คือ 82.54/80.12 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7170 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.70 3) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา อยู่ในระดับดี 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กมลวรรณ สืบสม และ นพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 118 – 127.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3) กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
ชณิดาภา บุญประสม และ กฤช สินธนะกุล. (2563). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอนบนเว็บแบบผสมผสานตามฐานสมรรถนะโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ในรายวิชาขั้นตอนวิธีและโครงสร้างข้อมูล. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ,11(1), 12–20.
เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยี
การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พรินติ้ง แมสโพรดักส์.
วิเชษฐ์ นันทะศรและ กฤช สินธนะกุล. (2562). การพัฒนารปแบบบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานตามฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการเรียน MIAP สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 18(3), 71-79.
ศิริพล แสนบุญส่งและ กฤช สินธนะกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการเรียน MIAP ระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 8(2), 37-46.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุรพันธ์ ตันศรีวงษ์. (2538). วิธีการสอน 1. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุระไกร เทพเดชา. (2557). การพัฒนาชุดฝึกทักษะเรื่องการใช้มัลติมิเตอร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุราษฎร์ พรมจันทร์.(2553). ยุทธวิธีการสอนวิชาเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อัจฉรา โสดา และ ลาวัณย์ ดุลยชาติ. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องการออกแบบภาพโมเดล 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Google Sketch Up ตามกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร , 1(2), 12-23.
Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reach every student in every class every day. [OR]. In the International Society for Technology in Education, Eugene, The United States of America.