การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของฟาร์มไก่เนื้อ แบบพันธสัญญาที่มีระบบเก็บอาหารแบบถุงและแบบไซโล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การผลิตไก่เนื้อจากฟาร์มมาตรฐาน ความปลอดภัยทางอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญ การใช้ไซโลในการจัดเก็บอาหารซึ่งเป็นระบบปิดจะช่วยลดความเสี่ยงในการปนเปื้นเชื้อโรคและสารเคมี อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาหารขาดในระบบให้อาหารลง แต่ด้วยระบบการเลี้ยงไก่แบบพันธสัญญา (Contract Farming) นั้น แม้เกษตรกรจะได้รับประโยชน์ในการลดความเสี่ยงในเรื่องราคาขายและตลาด แต่ยังคงต้องแบกรับภาระด้านต้นทุนและด้านการผลิตด้วยตนเอง ในการก่อสร้างไซโลเพื่อเก็บอาหารต้องใช้เงินลงทุนสูง ทำให้เกษตรกรบางส่วนเกิดความลังเลใจในการเลือกใช้ไซโล เพื่อให้เกษตรกรเห็นถึงความแตกต่างของต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างการเลือกใช้ไซโลและถุงกระสอบ จึงทำการเก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรเจ้าของฟาร์มไก่เนื้อที่ใช้ไซโลและถุงกระสอบ กลุ่มละ 2 ฟาร์ม และติดต่อขอข้อมูลทางบัญชีจากบริษัทคู่สัญญา เก็บข้อมูลจำนวน 2 รอบการผลิต ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ถึง เมษายน 2564 นำมาหาค่าเฉลี่ยและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ฟาร์มที่ใช้ไซโลขนาด 60,000 ตัว ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่า 482,989 บาท โดยฟาร์มทั้งสองแบบมีอัตราเลี้ยงรอดที่ใกล้เคียงกัน แต่ฟาร์มที่ใช้ไซโลมีน้ำหนักเฉลี่ยเข้าเชือดสูงกว่า 70 กรัมต่อตัว และมีอัตราแลกเนื้อ (FCR) 1.64 ในขณะที่ฟาร์มที่ใช้ถุงกระสอบมีอัตราแลกเนื้อ 1.71 ส่งผลให้ต้นทุนค่าอาหารถูกกว่าถึง 176,089 บาท ทำให้แม้ว่าจะมีรายได้จากการขายไก่ใหญ่สูงกว่าไม่มากนัก แต่ด้วยต้นทุนค่าอาหารที่ต่ำกว่าจึงทำให้ฟาร์มที่ใช้ไซโลมีผลตอบแทนสูงกว่า 152,968 บาท เมื่อวิเคราะห์จุดคุ้มทุนพบว่าฟาร์มที่ใช้ไซโลมีจุดคุ้มทุนที่ต่ำกว่าฟาร์มที่ใช้ถุงกระสอบคือ 11,590 ตัวและ 14,919 ตัว ตามลำดับ ดังนั้นหากต้องการลงทุนทำฟาร์มไก่เนื้อระบบจัดเก็บอาหารด้วยไซโลถือเป็นทางเลือกที่สำคัญ
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงพาณิชย์. (2564). ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปี 2543 – ปัจจุบัน.กระทรวงพานิชย์. http://www.indexpr.moc.go.th/price_present/csi/stat/other/conyear.asp.
กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์. (2563). ไก่เนื้อ สถานการณ์การผลิต และการตลาดไก่เนื้อ ประจำเดือน มิถุนายน 2563. กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์. extension.dld.go.th/th1/images/stories/63/ตัวชี้วัด%2063/กลุ่มเศรษฐกิจ/4.สถานการณ์ปศุสัตว์%20ปี%202563%20Factsheet%20ไก่เนื้อ_มิ.ย.63.pdf
จิโรจน์ ศศิปรียจันท์. (2553). โรคสำคัญในไก่เนื้อ (พิมพ์ครั้งที่1). บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
ธวัชชัย สันติกุล. (2555). วิธีประเมินต้นทุนการเลี้ยงสัตว์อย่างแม่นยำ.สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์.http://breeding.dld.go.th/th3/index.php?option=com_content&view=category&id=106%3Aahd-article&layout=blog&Itemid=58&lang=th
ณิชารีย์ ทองคำ. (2558). การศึกษากระบวนการและเปรียบเทียบต้นทุนผลตอบแทนการเลี้ยงไก่เนื้อแบบวิธีประกันราคาในโรงเรือนแบบปิดของเกษตรกร จังหวัดระยอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา
ไพรัช ทองขัน, สุนันท์ สีสังข์, พรชุลีย์ นิลวิเศษ. (2557). การผลิตไก่เนื้อของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์ [Paper presentation]. การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4. นนทบุรี.
สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ. (2558). การเกษตรแบบพันธสัญญา: ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อของไทย.วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามปีที่2, 1(3), 4-19.
สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2560). แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 6901(G)-2560 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่เนื้อ.
An Avigen Brand. (2019). Arbor acres plus arbor acres plus s broiler performance objectives.
https://eu.aviagen.com/assets/Tech_Center/AA_Broiler/AASF-AAFF-BroilerPO2019-EN.pdf
Ali, M., & Hossain, M. (2010). Factors influencing the performance of farmers in broiler production of Faridpur District in Bangladesh. World’s Poultry Science Journal, 66, 123-131.
Krungsri Guru. (2564). อยากรวยห้ามพลาด จุดคุ้มทุน...เท่าไหร่ถึงจะไม่ขาดทุน. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/how-to-calculate-breakeven-point