สภาพการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ยุคดิจิทัล ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษายุคดิจิทัล ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เปรียบเทียบสภาพการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษายุคดิจิทัล ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษายุคดิจิทัล ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำนวน 454 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Radom Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นทางสถิติที่ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษายุคดิจิทัล ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 พบว่า โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับ มาก 2) การเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษายุคดิจิทัล โดย จำแนกตามตำแหน่ง ประการณ์การทำงาน และ ขนาดโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนมีระดับความคิดเห็นต่อสภาพการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษายุคดิจิทัล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) แนวทางการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษายุคดิจิทัล ผู้วิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ด้านการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ของบุคลากรในการใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัล ควรส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรได้ศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ ๆ จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทางออนไลน์ (2) ด้านการพัฒนาทักษะ สมรรถนะ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควรสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในสถานศึกษา และให้บุคลากร ฝึกปฏิบัติ ในการใช้เทคโนโลยี (3) ด้านการเสริมสร้างเจตคติที่ดีของบุคลากรเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควรสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากร เป็นแบบอย่างที่ดีในการนำเทคโนโลยีมาใช้ และ (4) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า PLC ทั้งภายในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
จตุพร สุทธิรัตน์. (2549). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระนอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ชวนคิด มะเสนะ. (2559). การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในทศวรรษหน้า. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 16(1), 9.
ณัฐกุล ภูกลาง. (2561). การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปใน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร: หจก. ทิพยวิสุทธิ์.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). อุบลราชธานี: โรงพิมพ์วิทยาออฟเซ็ทการพิมพ์.
นวลละออง อุทามนตรี และรชยา อินทนนท์. (2558). การพัฒนาบุคลากร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 25.
บรรจบ ศรีประภาพงศ์. (2548). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาสังคม เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ประจวบ แจ้โพธิ์. (2557). ความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการบริหารงาน ของโรงเรียน สำนักงานเขตบึงกุ่ม สังกัดกรุงเทพมหานคร. [บัณฑิตมหาวิทยาลัย ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร.
ประพันธ์ เม้าเวียงแก. (2548). การบริหารงานวิชาการ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาเลย เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ปาริชาติ สติภา. (2558). การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร สถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ไพรบูรณ์ จารีต. (2553). สมรรถนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้พิมพ์]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มนตรีสังข์โต. (2554). สภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารงานในโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สังกดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่12 พ.ศ. 2560 – 2564. http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). การประชมวิชาการ การวิจัยทางการบริหาร การศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สีวรรณ์ไชยกุล. (2562). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. [สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559, 1 พฤศจิกายน). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era).Posted By Plook. Teacher. https://www.trueplookpanya .com/knowledge/content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir
ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในโรงเรียน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.