พัฒนาการของหนังประโมทัยคณะบุญเทียมน้อย

Main Article Content

นัฐพงษ์ ทองม้วน
สุรพล เนสุสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพัฒนาการของหนังประโมทัยคณะบุญเทียมน้อย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้รู้จำนวน 3 คน ศิลปินผู้แสดงจำนวน 2 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 2 คน บุคคลทั่วไปจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ แล้วนำผลการวิเคราะห์ โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ 


ผลการวิจัยพบว่า ประวัติพัฒนาการหนังประโมทัยคณะบุญเทียมน้อย เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยนายเจียม อนันตแวง ได้จดจำการแสดงหนังประโมทัยจากจังหวัดอุดรธานี เริ่มฝึกหัดการขับร้อง การลำ การพากษ์เจรจา การทำตัวหนัง การสร้างตัวหนังและการใช้ไฟด้วยตัวเอง รวบรวมสมาชิกได้ 8 คน ฝึกซ้อมการแสดงจนสามารถรับงานแสดงได้ มีเครื่องดนตรี พิณ 1 ตัว แคน 1 เต้า และกลอง 1 ใบ การแสดงแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 การแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองลำเพลิน ช่วงที่ 2 การแสดงหนังประโมทัยเรื่องสังข์สินชัย ตอนตามเอาอา หลังจาก พ.ศ. 2549 ได้มีการพัฒนาการแสดงหนังในรูปแบบหนังตะลุงซิ่ง เพิ่มเครื่องดนตรีสากลตามแบบวงดนตรีลูกทุ่ง ช่วงโชว์หลังจากการไหว้ครูใช้ผู้แสดงหญิงออกมาเต้นระบำหน้าเวทีแทนการเชิดหนัง ระหว่างดำเนินเรื่องนิยมให้มีนักร้องหญิงชาย ขับร้องเพลงลูกทุ่งหมอลำ เน้นความสนุกสนานเป็นหลัก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

จักรกฤษ เรืองวุฒิ. (2555). การศึกษาดนตรีประกอบการแสดงหนังประโมทัยของคณะเพชรโพนทันอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2528). เรื่องบทบาทของหมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ, บทบาทของหมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ. สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2530). เอกสารประกอบวัฒนธรรมพื้นบ้าน ภาควิชาภาษาไทย, คติชาวบ้าน. อักษรวัฒนา.

อนันตแวง. (2563). สัมภาษณ์.

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2563). สัมภาษณ์.

เดช เดชพิมล. (2531). การศึกษาเรื่องหนังประโมทัยในจังหวัดร้อยเอ็ด. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต]. https://bit.ly/3DlmeVd

ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์. (2563). สัมภาษณ์.

บุญเลิศ สาระอาวาส. (2563). สัมภาษณ์.

ประจักร สารรักษ์. (2563) สัมภาษณ์.

ปราณี วงษ์เทศ. (2525). ศิลปะกับสังคม, พื้นบ้านพื้นเมือง. เจ้าพระยา.

ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์. (2558). ตัดสินรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ 16 ประเภทสารคดีเชิงศิลปวัฒนธรรม.

ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. (2538). สุนทรียทางทัศนศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โครงการตำราคณะศิลปกรรมศาสตร์สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

พัทยา สายหู. (2531). แนวทางในการส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้าน. ในแนวทางการส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านไทย, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ยศ สันต์สมบัติ. (2540). มนุษย์กับวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัถพร ซังธาดา. (2526). หนังประโมทัย: หนังตะลุงอีสาน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

วิวัฒน์ชัย บุญภักดิ์. (2531). วัฒนธรรมพื้นบ้าน: ทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง. นิเวศน์สัญจรวิถีทางสู่การอนุรักษ์ โอเดียนสโตร์.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2551). การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม: แนวคิด วิธีวิทยา ทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 1). อมรินทร์ก๊อปปี้.

สุรพล เนสุสินธุ์. (2563) สัมภาษณ์.

เหรียญ วรรณแวงควง. (2563) สัมภาษณ์.

Miller, T.E. & Jarernchi C. (1979). Shadow Pupper Theatre in Northeast. Jornal of the Siam society, 1, 293 - 311.