กลวิธีการเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ สำหรับกีตาร์คลาสสิก ชุด แสงเทียนบลูส์ บรรเลงโดย ฮักกี้ ไอเคิลมานน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษากลวิธีการเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ สำหรับกีตาร์คลาสสิก ชุด แสงเทียนบลูส์ บรรเลงโดย ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) วิเคราะห์กลวิธีการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก บทเพลงพระราชนิพนธ์ ชุด แสงเทียนบลูส์ บรรเลงโดย ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ และ 2) วิเคราะห์กลวิธีการเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ สำหรับกีตาร์คลาสสิก ชุด แสงเทียนบลูส์ บรรเลงโดย ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ ซึ่งผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ นักเรียน นักศึกษา นักดนตรี และบุคคลทั่วไป สามารถเสริมสร้างความรู้ในด้านการบรรเลง ความรู้ในด้านทฤษฎี และความรู้ในด้านกลวิธีการเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ สำหรับกีตาร์คลาสสิกมากยิ่งขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลวิธีการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก ของ ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ มีการใช้กลวิธีการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก ทั้งหมด 17 ชนิด ซึ่งกลวิธีการบรรเลงที่พบมากที่สุด ในบทเพลง แสงเทียน ชะตาชีวิต ศุกร์สัญลักษณ์ คือ กลวิธีการบรรเลงแบบ การกวาดสาย/การเกี่ยวสาย (Rasgueado) ปรากฎทุกท่อนของบทเพลง ยกเว้น บทเพลง สายฝน ที่ใช้กลวิธีการบรรเลงแบบ เทรโมโล่ (Tremolo) เป็นหลัก และยังมีการใช้กลวิธีการบรรเลงแบบพิเศษ อยู่ 2 กลวิธี ถูกใช้ในบทเพลง ศุกร์สัญลักษณ์ คือ 1.การกวาดสาย/การเกี่ยวสาย (Rasgueado) + การดีดแบบพิซคาโต (Pizzicato) เป็นกลวิธีการบรรเลงแบบเน้นจังหวะของตัวโน้ตและหยุดอย่างรวดเร็ว 2.เกรซ โน้ต (Grace note) เป็นกลวิธีการบรรเลงแบบสะบัดโน้ต รวมถึงการบรรเลงเพื่อเพิ่มอารมณ์ให้กับบทเพลงโดยใช้ โหมด มิกโซลิเดียน (Mixolydian Mode) และสเกล โครมาติก (Chromatic scale) ในบทเพลง สายฝน 2) กลวิธีการเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ สำหรับกีตาร์คลาสสิก ของ ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ โดยการเรียบเรียงทำนองของบทเพลง มีการใช้ทำนองหลักแบบต่อเนื่องในแนวบน และใช้กลวิธีการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก เพื่อกระจายโน้ตของทำนองในแต่ละท่อน จนถึงท่อนจบ ทั้ง 4 บทเพลง โดยใช้การเดินเสียงเบสและการเดินทำนองหลัก ตามกลุ่มคอร์ด ซึ่งคอร์ดที่ใช้จะเป็นคอร์ดทาง Major เป็นหลัก และจะมีคอร์ดที่เป็น Chord Diminished – Chord 6 – Chord 7 - Chord b5 ที่พบในบางช่วงของท่อนเพลง การเรียบเรียงบทเพลง มีการใช้พื้นผิวแบบการกระจายคอร์ด (Arpeggio Texture) เพื่อกระจายทำนองหลักของบทเพลง การประสานทำนองกับขั้นคู่เสียง (Intervals) เพื่อบ่งบอกถึงลักษณะของเสียง และการใช้รูปแบบของจังหวะ (Rhythm pattern) ให้เหมาะสมกับลักษณะของบทเพลง เพื่อใช้ในการเรียบเรียงแนวเบส
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กิตติ ศรีเปารยะ. (2540). การศึกษาเรื่องเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร กรณีศึกษาวิเคราะห์ทำนอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ (2539). ดนตรีจากพระราชหฤทัย ศูนย์รวมใจปวงชน (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2544). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดนุเชษฐ วิสัยจร. (2561). ดุษฎีนิพนธ์ด้านการประพันธ์เพลง : บทประพันธ์เพลงอีสานร่วมสมัยสำหรับกีตาร์คลาสสิก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีศักดิ์ เนนเลิศ. (2544). การเรียบเรียงเสียงประสานของ ประยงค์ ชื่นเย็น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
นัติเทพ การิเทพ, (2560). กระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิกของ อาจารย์เกียรติ เอกศิลป์. วารสาร ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 382-383.
เมธี เพ็งพงศา. (2542). เพลงพระราชนิพนธ์ : พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(7), 7.
เมธี อภินันท์ธรรม. (2552). การเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์สำหรับกีต้าร์คลาสสิก ระดับชั้นต้นและชั้นกลาง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
วัชรานนท์ สังข์หมื่นนา. (2562). เทคนิคการบรรเลงและการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับกีตาร์ คลาสสิก ของฮักกี้ ไอเคิลมานน์กรณีศึกษา : อัลบั้มอาเซียนกีตาร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อัศวิน นาดี. (2553). วิเคราะห์การเรียบเรียงเสียงประสานเพลงของ วิจิตร์ จิตรรังสรรค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.