การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนบ้านน้ำพ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

Main Article Content

พิสมัย สิมสีพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนบ้านน้ำพ่น 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนบ้านน้ำพ่นและ 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนบ้านน้ำพ่น วิธีการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยมีผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยจำนวน 17 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำพ่น 1 คน (ผู้วิจัย) ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านน้ำพ่น จำนวน 16 คน ผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำพ่น 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านน้ำพ่น จำนวน 9 คน คณะกรรมการนิเทศภายในสถานศึกษา 3 คน และนักเรียน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม 3 ฉบับ แบบทดสอบ 1 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ 1 ฉบับ และแบบประเมิน 3 ฉบับ คุณภาพของแบบสอบถาม มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาคือ ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.60 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่น ฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.78 ฉบับที่ 2 เท่ากับ 0.78 และฉบับที่ 3 เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้าน น้ำพ่น พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ นักเรียนขาดทักษะกระบวนการคิด ครูไม่มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ส่วนใหญ่จัดการเรียนรู้แบบบรรยาย ขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การนิเทศภายในยังไม่เป็นระบบ จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนในโรงเรียน พบว่าครูมีความต้องการในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับคำตอบของครูจากแบบสอบถามความต้องการที่พบว่า ครูต้องการให้มีการจัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้องการให้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและการจัดระบบนิเทศภายใน 2) การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนบ้านน้ำพ่น 2.1) การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกพบว่าครูผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการร้อยละ 37.4 จากการประเมินพฤติกรรมของครูผู้เข้ารับการอบรม พบว่าพฤติกรรมของครู ผู้ร่วมวิจัยอยู่ในระดับมากและมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 2.2) การนิเทศภายใน การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้ร่วมวิจัยวงรอบที่ 1 พบว่า ครูผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้โดยรวมในระดับปานกลาง จากการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 ครูสามารถเขียนแผนการจัด การเรียนรู้อยู่ในระดับมากจำนวน 5 คน จึงต้องมีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวงรอบที่ 2 ต่อไป 3) การติดตามการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนบ้านน้ำพ่น วงรอบที่ 2 ด้วยกระบวนการนิเทศแบบสอนงาน (Coaching) พบว่า ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับมาก แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมมี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 จากการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนใน การเรียนรู้เชิงรุกในชั้นเรียนในวงรอบการนิเทศ นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.01

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). 2552 ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

บุปผา รื่นรวย. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการนิเทศสำหรับครูในโรงเรียประชานิคม 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี. www.ir.sru.ac.th › handle›123456789./http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/761

ลีลาวดี ชนะมาร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วารสารรัชตภาคย์, 14(35), 135-148.

ยุภาลัย มะลิซ้อน. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.

วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 230-243.

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135-145.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงษ์.

วิทยากร เชียงกูล. (2559). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ศักดิ์นรินทร์ นิลรัตนศิริกุล. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กรณีศึกษาสหวิทยาเขตสตึก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วารสารมหาจุฬา นาครทรรศน์, 7(10), 128-141.

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัย เทคโนโลยีภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. http://bsris.swu.ac.th/thesis /55199120027RB8992555f.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. พริกหวานกราฟฟิค.

Carter, F. L., & Hogan, P.T. (2013). Integrating Active learning and Assessment in the accounting Classroom. Journal of instructional Pedagogies, 1(1), 1-16.

Chadia A. Aji, M.,& Javed Khan. (2019). The Impact of Active Learning on Students’ Academic Performance. Open Journal of Social Sciences, 7, 204-211. http://www.scirp.org/journal/jss

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press.