การศึกษาพฤติกรรมและทักษะการรู้ทันสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Main Article Content

วิไลวรรณ วงศ์จินดา
นนทโชติ อุดมศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม 2) เพื่อศึกษาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 261 คน โดยกำหนดตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และแบบทดสอบทักษะการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม อยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ในระดับชั้นปีที่ 5 สังกัดสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยเฉลี่ยต่อครั้งมากกว่า 3 ชั่วโมง ช่วงเวลา 16.01-24.00 น. และใช้เฟซบุ๊ก มากที่สุดในด้านการบันเทิง 2) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม พบว่า ทักษะการเข้าถึงสื่ออยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 82.38

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). Smart Social Media รู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ อย่างสร้างสรรค์. https://www.ops.go.th/main/images/pusit-doc/590429_smart-social.pdf

ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัตน์ พูลเขตนคร, ธนวัตน์ เจริญษา, นิตยา นาคอินทร์ และ ภาสกร เรืองรอง. (2562). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(6), 478-494.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช.(2561). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 24, 22-30.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข และ สุกัญญา เอมอิ่มธรรม. (2563). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 37(2), 120-142.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการสำรวจข้อมูลสภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. https://itm.eg.mahidol.ac.th/itm/wp-content/uploads/2020/04/MDES-ONDE-MIL-Survey-2019.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษาแนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1653-file.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในครัวเรือน พ.ศ. 2563. http://www.nso.go.th/sites/2563/Full_Report_63.pdf

เสาวนีย์ วรรณประภา, สมพงษ์ เส้งมณีย์, ภารดี พึ่งสำราญ, วิฆเนศวร ทะกอง, กาญจนา สมพื้น. (2562). การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์และพฤติกรรมการใช้สื่อของนักศึกษาหลักสูตรสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. รายงานการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019”, 684-693.

อพัชชา ช้างขวัญยืน. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาศิลปากร, 16(1), 188-197.

Center for Media Literacy (2008), Literacy for the 21st Century: An Overview & Orientation Guide to Media Literacy Education. https://www.medialit.org/reading-room/literacy-21st-century-overview-orientation-guide-media-literacy-education.

Hobbs, Renee. (2011). Digital and Media Literacy: Connecting Culture and Classroom. Corwin: California. https://eric.ed.gov/?id=ED523447

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Ramasamy, K. (2020). Social Media Literacy Skills of the Post Graduate Students and M.Phil scholars of Arts and Science Colleges affiliated to Mother Teresa

Women's University, Kodaikanal Philosophy and Practice (e-journal), 1-36. https://www.proquest.com/docview/2450797327/fulltextPDF/32B58C156D2F4BDDPQ/1?accountid=32074

Shopova T. (2014) “Digital Literacy of Students and Its Improvement at the University”. Journal on Efficiency and Responsibility in Education and Science, 7(2), 26-32.

Tetep, A.S. (2019). Students’ Digital Media Literacy: Effects on Social Character. International Journal of Recent Technology and Engineering, 8(2S9), 394-399.