สภาพและแนวทางการบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4

Main Article Content

เยาวนา พันธุ์แก้ว
สังวาร วังแจ่ม
สิทฺธิชัย มูลเขียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรภายในโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ จำนวน 33 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


              ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ มีการปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ขั้นเตรียมการ อยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบ ขั้นดูแลสนับสนุนใกล้ชิด ขั้นดำเนินการพัฒนาผู้เรียนและบุคลากรตามระบบไตรสิกขา ขั้นประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินการ และขั้นปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากทุกด้าน แนวทางการบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ คือ โรงเรียนควรดำเนินการตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของอัตลักษณ์ 29 ประการ และขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ขั้นตอนของโรงเรียนวิถีพุทธในการบริหารอย่างมีระบบ มีโครงการหรือกิจกรรมที่โดดเด่น เป็นที่ประจักษ์ จนเป็นแบบอย่างได้

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 [ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560]. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

พระมหาวิชาญ สุวิชาโน (บัวบาน) และ เกษม แสงนนท์. (2562). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ.โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิชาญ สุวิชาโน (บัวบาน) และ เกษม แสงนนท์. (2562). โรงเรียนวิถีพุทธ Buddhist Oriented School. พระนครศรีอยุธยา : ส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิชาญ สุวิชาโน (บัวบาน). (2564). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 245-262. https://so03.tci-thaijo.org.

พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท (รุจิเวทย์) และ พระมหากําพล คุณงฺกโร (มาลัย). (2558). พุทธบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. https://lib-opac.mcu.ac.th.

พระมหาอนันต์ องกุรสิริ. (2561). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 81-90. https://so03.tci-thaijo.org.

เมตตา ภิรมย์ภักดิ์. (2547). ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.

วัชรพล มะลิซ้อน. (2560). การปลูกฝังคุณธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนบ้านชุมแสง ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชพระพุทธศาสนาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยhttp://oldweb.mcu.ac.th.สถานศึกษาวิถีพุทธ. (2545, 1 พฤศจิกายน). โรงเรียนวิถีพุทธ. https://www.vitheebuddha.com/main.php?url=newsreport_view&id.

สถานศึกษาวิถีพุทธ. (2556, 18 มกราคม). ผลโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ เชิงคุณภาพ. https://www.vitheebuddha.com/main.php?url=about&id=33

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2564, 1 มกราคม). กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570).

https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13