แนวทางการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษากลุ่มดอยอินทนนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษากลุ่มดอยอินทนนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ และ 2) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษากลุ่มดอยอินทนนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารและข้าราชการครูในสถานศึกษากลุ่มดอยอินทนนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 186 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และศึกษาแนวทางการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษากลุ่มดอยอินทนนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษากลุ่มดอยอินทนนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษากลุ่มดอยอินทนนท์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ด้านการศึกษา ผู้บริหารควรมีการกำกับ ติดตาม นิเทศการดำเนินงานแนะแนวอย่างเป็นรูปธรรม จัดทำตัวชี้วัดในการประเมินผลการดำเนินงานแนะแนวด้านการศึกษาอย่างชัดเจน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านอาชีพผู้บริหารและคณะครูควรร่วมกันวางแผนจัดทำโครงการ มีการสำรวจอาชีพที่ผู้เรียนสนใจ จัดหางบประมาณในการให้ผู้เรียนได้ไปทัศนศึกษา ด้านส่วนตัวและสังคม บุคลากรภายในสถานศึกษาควรร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติในการส่งต่อผู้เรียนที่มีปัญหา และปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา. (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2562. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34.
กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2563). สารสนเทศทางการศึกษา
ปีการศึกษา 2563. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34.
คฑาวุธ ขันไชย. (2561). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
คณิศร์ จับจิตต์. (2559). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทาง
การศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ดารุณี บุญครอง. (2560). วิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาไทยกับการขับเคลื่อนการศึกษาสู่ยุค
ไทยแลนด์ 4.0. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 17(2), 5.
ปภัสราภรณ์ ระว้า. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านกิจกรรมแนะแนว
สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต
ร้อยเอ็ด, 7(1), 246.
วารุณี ปารีพันธ์. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดบริการงานแนะแนว
โรงเรียนบ้านคําแม่นาง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(47), 87-97.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-
พริกหวานกราฟิก จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อนรรฆ ตปนีย์. (2562). การดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์.
วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 138-153.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.
Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.