การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 1

Main Article Content

กนกวรรณ อุ่นจิตต์
ธิดารัตน์ จันทะหิน
พงษ์ธร สิงห์พันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์และขนาดสถานศึกษา (3) ศึกษาแนวทางการการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษา เป็นครูผู้สอนจำนวน 348 คน และผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 148 คน รวมทั้งสิ้น 496 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตำแหน่งและประสบการณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดโรงเรียนมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 รายด้าน ดังนี้ 1) การรู้จักนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ควรใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อจัดทำข้อมูลและรายงานผล 2) การคัดกรองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ควรกำหนดเกณฑ์การคัดกรองและมีคู่มือที่ชัดเจน 3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ควรจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและโครงการพิเศษตามความถนัดของผู้เรียน 4) ด้านการปกป้องช่วยเหลือและแก้ไขนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ควรคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน จัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน กิจกรรมซ่อมเสริมและเสริมหลักสูตร 5) การส่งต่อนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ควรมีการรวบรวมข้อมูล ติดต่อประสานงาน และติดตามการช่วยเหลือนักเรียนเป็นระยะ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: คอมมิวนิเคชั่น.

กนิษฐ์ฎา แก้วจินดา. (2560). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้น

พื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นัฎจรี เจริญสุข. (2561). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ฟองจันทร์ กลิ่นสุคนธ์. (2562). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

รจสุคน ดีประดับ. (2560). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบ่อ

ทอง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

รดา ธรรมพูนพิสัย. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียน

ร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส [Paper presentation]. การประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช.

ธีรวุฒิ เอกะกุล.(2559). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุบลราชธานี : วิทยาการพิมพ์.

วีระ มีมาก. (2563). การศึกษาผลและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนฤทธิ

ยะวรรณาลัย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วาสนา สุขเกษม. (2561). การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

เรียนรวม: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดหันตรา (เวช สมาน ราษฎร์นุกูล) อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศิวา ขุนชำนาญ. (2564). การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12 (วารสารออนไลน์), 12(1), 1313 – 1328.

สรัล อินธิแสง. (2563). สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Taylor, Antoinette P. (2019). General Education Teacher Experiences Differentiating

Instruction for Students With Special Needs. [Master’s thesis]. ProQuest Dissertations and Theses database.