ประวัติและรูปแบบการแสดงหนังประโมทัยคณะเพชรบ้านราช จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

นัฐพงษ์ กุมผัน
พุฒธิพงษ์ พาหา
หนึ่งฤทัย วงษาหาราช

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและรูปแบบการแสดงหนังประโมทัยคณะเพชรบ้านราช จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการศึกษาด้วยวิธีการศึกษาเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยการ สังเกต สัมภาษณ์ จากกลุ่มศิลปินผู้แสดงจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ แล้วนำผลการวิเคราะห์ โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์     


            การศึกษาพบว่า ประวัติและรูปแบบการแสดงหนังประโมทัยคณะเพชรบ้านราช อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น 2 ด้าน 1.) ด้านประวัติความเป็นมา กล่าวคือ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยหลวงปู่สุดใจ ภทฺทปฺญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าสวรรค์สามัคคีธรรมวนาราม รวบรวมสมาชิกได้ 22 คน ควบคุมการฝึกซ้อมด้วยตัวท่านเอง เริ่มฝึกหัดการขับร้อง การลำ การพากย์เจรจา การเชิดตัวหนัง ฝึกซ้อมการแสดง 3 เดือนจนสามารถรับงานได้ ปัจจุบันนี้มีหัวหน้าชื่อนายพหุทัศนีย์ ศีอุดร ทำการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ตอนเบญจกายลอยชล 2.) ด้านรูปแบบการแสดง กล่าวคือ ก่อนทำการแสดงจะแยกตัวหนังออกเป็น 2 ฝ่าย นำตัวหนังฤาษีมาวางไว้ที่พานไหว้ครูทุกครั้ง บรรเลงเพลงออกแขก ใช้ภาษาอีสานในการประกาศบอกเรื่องที่จะแสดงโดยตัวตลกประจำคณะ ผู้เชิดจะใช้การขยับแขนขาของตัวหนังเพื่อให้ผู้ชมการแสดงรับรู้ถึงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของตัวหนัง ระหว่างดำเนินเรื่องและจบการแสดงนิยมให้มีนักร้องหญิงชาย ขับร้องเพลงลูกทุ่ง หมอลำ ลำเต้ย เน้นความสนุกสนานเป็นหลัก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2528). เรื่องบทบาทของหมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ : บทบาทของ หมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ. สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

ชุมเดช เดชพิมล. (2531). การศึกษาเรื่องหนังประโมทัยในจังหวัดร้อยเอ็ด [ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ทองอินทร์ รินทะชัย. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 15 ตุลาคม 2564).

ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. (2538). สุนทรียทางทัศนศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 2) โครงการตำราคณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

นิกร หวานอารมณ์. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 15 ตุลาคม 2564).

นิยม ลือชัยราม. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 15 ตุลาคม 2564).

ประเสริฐ ชัยภูมิ. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 15 ตุลาคม 2564).

ปราณี วงษ์เทศ. (2525). ศิลปะกับสังคม : พื้นบ้านพื้นเมือง. เจ้าพระยา.

พหุทัศนีย์ ศีอุดร. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 15 ตุลาคม 2564).

พัทยา สายหู. (2531). “แนวทางในการส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้าน” ในแนวทางการส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านไทย. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2531). “วัฒนธรรมพื้นบ้าน : ทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง” นิเวศน์ สัญจรวิถีทางสู่การอนุรักษ์. โอเดียนสโตร์.

วิไลลักษณ์ ลักขะไชย. (2544). การเปลี่ยนแปลงของหนังประโมทัย. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมจิตร พ่วงบุตร. (2531). “สภาพปัญหาและข้อจำกัดในการส่งเสริมและเผยแพร่นาฏศิลป์และดนตรี พื้นบ้าน” ในแนวทางการส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านไทย. คุรุสภาลาดพร้าว.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2551). การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม : แนวคิด วิธีวิทยา ทฤษฎี. อมรินทร์ก๊อปปี้.

สำราญ ลือชัยราม. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 15 ตุลาคม 2564).

สำลี อันทะชัย. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 15 ตุลาคม 2564).

เหรียนทอง พิมพิรัตน์. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 15 ตุลาคม 2564).

Miller.terry E. and jarernchi chonpairot. (1979). “shadow pupper theatre in northeast” jornal of the siam society, (1) : 293-311 : October.