การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชนิดของคำไทย โดยการเรียนรู้ผ่านเกมร่วมกับบอร์ดเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

นวรัตน์ แดงทุ่ง
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ชนิดของคำไทย โดยการเรียนรู้ผ่านเกมร่วมกับบอร์ดเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่อง ชนิดของคำไทย โดยการเรียนรู้ผ่านเกมร่วมกับบอร์ดเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนเรื่องชนิดของคำไทย โดยการเรียนรู้ผ่านเกมร่วมกับบอร์ดเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 21 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือใช้ในการวิจัย 1) บอร์ดเกมเรื่อง ชนิดของคำไทย จำนวน 3 บอร์ดเกม 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องชนิดของคำไทย โดยการเรียนรู้ผ่านเกมร่วมกับบอร์ดเกม จำนวน 5 แผน รวม 10 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชนิดของคำไทย เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจมีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องชนิดของคำไทยโดยการเรียนรู้ผ่านเกมร่วมกับบอร์ดเกมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ t-test dependent


              ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ชนิดของคำไทย โดยการเรียนรู้ผ่านเกมร่วมกับบอร์ดเกม มาใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญมีผลรวมการพิจารณาความเหมาะสมระดับมากที่สุด  (= 4.90,S.D.=0.22) 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดของคำไทย โดยการเรียนรู้ผ่านเกมร่วมกับบอร์ดเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่มีต่อการเรียนเรื่อง ชนิดของคำไทย โดยการเรียนรู้ผ่านเกมร่วมกับบอร์ดเกม อยู่ในระดับมาก (=4.96, S.D.= 0.13)

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กณกวรรณ กอกหวาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง สำนวนไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียประเภทสถานการณ์จำลอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุมสาระการเรียนรูภาษาไทย. โรงพิมพคุรุสภาลาดพร้าว.

ฉัตรกมล ประจวบลาภ. (2559) Game-Based Learning กับการพัฒนาการเรียนการสอนทางการ พยาบาล. วารสารกองการพยาบาล, 43(2), 127-136.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2553). Game-based Learning. สำนักบริการเทคโนโลยี สารสนเทศ. http://www.itsc.cmu.ac.th/itsc2011/successstories.htm.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพยฉัตร พละพล. (2562). การพัฒนาชุดการสอนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธีรภาพ แซ่เชี่ย. (2560). การใช้บอร์ดเกมประเภทวางแผนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณใน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภาศรี สงสัย. (2563). การศึกษาผลการใช้บอรด์ เกมประกอบการเรียนการสอนรายวิชา วิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบนิเวศ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ [การศึกษาค้นคว้าอิสระด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปกรณ์ ประจันบาน. (2552). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน (Advanced Statistics for Research and Evauation). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประหยัด จิระวรพงศ์. (2555). วิธีการสอนแบบ Game Based Learning เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความสนุกสนานไปพร้อม ๆ กับการได้รับความรู้. https://ct-education.blogspot.com/p/blog-page_17.htm

ประภาพันธ์ พลายจันทร์. (2546). รายงานการวิจัยความพึงพอใจของนักศึกษาในการใช้ ทรัพยากรสารนิเทศและบริการของหองสมุดคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). ราชบัณฑิตยสถาน.

รัชนก พุทธรังสี. (2560) การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะการแสดง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วชิรวิทย์ เอี่ยมวิลัย. (2563). การพัฒนาบอร์ดเกมตามแนวทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ 9119 เทนนิคพริ้นติ้ง.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2559). Board | Game | Universe จักรวาลกระดานเดียว. สำนักพิมพ์แซลมอน.

Freitas, S. D. (2006). Learning in immersive worlds: A review of game-based learning.

http://www.jisc.ac.uk/media/documents/programmes/elearninginnovation/gam

Fry, E. B., & Kress, J. E. (2006). The reading teacher's book of lists. Jossey-Bass.

Treher, J. (2012). European Framework for CLIL teacher education. Synergies Italie, n(8), 105-116.