การพัฒนาแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ

Main Article Content

พิทยาภรณ์ หรสิทธิ์
วราพร เอราวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ 2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,058 คน จาก 12 โรงเรียน โรงเรียนละ 3 ห้องเรียน รวมได้ 36 ห้องเรียน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 6 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ       


ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่สร้างขึ้น จำนวน 48 ข้อ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ชอบความท้าทาย ความเพียรพยายามในการเรียนรู้  กล้าเผชิญปัญหา เรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ ความสามารถในการรับรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง หาบทเรียนและแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น และการแสดงออกและการรับผิดชอบในการเรียนรู้ตนเอง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.238 ถึง 0.656 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.917 ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ พบว่าแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square= 42.597, df = 25, CFI = 0.992, TLI = 0.986, RMSEA = 0.026, SRMRw = 0.017, SRMRb = 0.049 และ Chi-square /df = 1.700) 2) เกณฑ์ปกติของแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีเกณฑ์ปกติในรูปคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T17 ถึง T83

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2562). Mindset: นวัตกรรมทางความคิด พลิกวิธีคิดสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). https://www.dcy.go.th/dcy/webnew/upload/knowledge/knowledge_th_20192612161944_1.pdf

จุฬาลักษณ์ ทิพวัน. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้กรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนม์นิภา แก้วพูลศรี. (2563, 27 มีนาคม). เริ่มค้นหาตนเอง ทดลองสิ่งใหม่ๆ นี่คือพัฒนาการในเด็กวัยรุ่นตอนกลางที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ. โรงพยาบาลพยาไท. https://www.phyathai.com/article_ detail/2872/th/undefined

ธนะดี สุริยะจันทร์หอม. (2561). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างกรอบความคิดแบบเติบโตสำหรับนักศึกษาหลักสูตร วิชาชีพครู. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปกรณ์ รัตนทรัพย์ศิริ. (2564). ความมั่นคงทางอารมณ์ ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การเสริมสร้างพลังอำนาจและความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนสายสามัญ ในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(3), 155-172.

ปัทมาภรณ์ ศรีราษฎร์. (2561). แนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครู. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(1), 389-399.

ปาริชาติ ดอนเมือง. (2561) การสร้างมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(2), 210-224.

สมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (8-9 สิงหาคม 2562). นวัตกรรมทางความคิดสำคัญอย่างไร ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศไทย. ใน พรสม เปาปราโมทย์ (ประธาน), นวัตกรรมทางความคิดกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน [Symposium]. การประชุมสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2562, โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพฯ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2562). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมพงษ์ จิตระดับ, กมลวรรณ พลับจีน, พจนา อาภานุรักษ์ และชุติมา ชุมพงศ์. (2562). การส่งเสริมกระบวนการทางความคิด (Mindset) เด็กและเยาวชนสู่ประเทศไทย 4.0. กรมกิจการเด็กและเยาวชนและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). http://www.

cydcenter.com/wp-content/uploads/2019/07/24-เอกสารวิชาการ-mindset-.pdf

สุภาภรณ์ เหรียญประดับ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคกับสัมพันธภาพ ในครอบครัวของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 149-159.

Anderson, J. C. & Gerbing, D. W. (1984). The effect of sampling error on convergence, improper solutions, and goodness-of-fit indices for maximum likelihood confirmatory factor analysis. Psychometrika, 49(2), 155–173. https://doi.org/10.1007/BF02294170

Bliese, P. D. (2000). Within-group agreement, non-independence, and reliability implications for data aggregation and analysis. https://www.kellogg.north western.edu/rc/workshops/mlm/Bliese_ 2000.pdf

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.

Dweck, C. S. (2007). Boosting achievement with messages that motivate. Education Canada, 47(2), 6-10.

Dweck, C. S. (2015). How self beliefs affect motivation and thus achievement. http:// www.learning-knowledge.com/self-theories.html

Heck, R. H. & Thomas, S. L. (2000). An introduction to multilevel modeling techniques. London: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Hu, L.T., & Bentler, P.M. (1999). Cutoff criterion for fit indices in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling: A Multidisciplinary Journal, 6(1), 1-55. https://doi.org/10.1080/10705519909540118

Snijders, T. A. B., & Bosker, R. J. (1999). Multilevel analysis: An introduction to basic and advanced multilevel modeling. Sage.