ผลการจัดการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้เทคนิคตกผลึกความคิด ร่วมกับการประยุกต์ใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ SE2R ที่มีต่อความสามารถในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ วิชาภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

สิรพัชญ์ หาญนอก
กิตติพงษ์ แบสิ่ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อประเมินความสามารถในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการวิชาภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้เทคนิคตกผลึกความคิดร่วมกับการประยุกต์ใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ SE2R ของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 กลุ่มเรียน XX จำนวน 27 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้กลุ่มเรียนเป็นหน่วยสุ่ม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบการทดลองกลุ่มเดียววัดหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนจำนวน 12 ชั่วโมง 2) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการวิชาภาษาไทยจำนวน 2 ข้อ และบันทึกหลังการเรียนรู้ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 3 ข้อ ซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าคุณภาพแต่ละรายการ 0.67-1.00 3) บันทึกหลังการเรียนรู้ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการวิชาภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังการจัดการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้เทคนิคตกผลึกความคิดร่วมกับการประยุกต์ใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ SE2R ผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.09 เมื่อพิจารณารายบุคคลแล้วผลปรากฏว่านักศึกษาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ทุกคน 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังการจัดการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้เทคนิคตกผลึกความคิดร่วมกับการประยุกต์ใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ SE2R ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาปรากฏสาระสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 2.1) ได้รับประโยชน์มาก เพราะช่วยให้เข้าใจอย่างกระจ่าง 2.2) ได้แนวทางและกระบวนการในการทำงาน ได้รับความกระจ่างชัดในการปรับปรุงแก้ไขผลงาน และ 2.3) ต้องการได้รับข้อมูลป้อนกลับอย่างมากและควรใช้การสนทนาส่วนตัวหรือผ่านแอปพลิเคชันไลน์

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

พรทิพย์ แข็งขัน และชยพร กระต่ายทอง. (2553). โมดูล 2 การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการ ในคู่มือฝึกอบรมภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. 55-115. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิเชษฐ์ พินิจ. (2560). การออกแบบรายวิชาเชิงศิลป์และศาสตร์การสอนและการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลของการประเมินแบบอิงผลลัพธ์การเรียนรู้: ความพยายามเบื้องต้นในรายวิชาเครื่องจักรกลและการออกแบบระดับปริญญาตรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 40(4), 543-565.

วัชรี เกษพิชัยณรงค์ และคณะ. (ม.ป.ป.). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก. สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิชัย เสวกงาม. (2555). การเรียนการสอนทางตรง: สอนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพในบริบทการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์. วารสารครุศาสตร์, 40(2), 255-272.

สรัญญา จันทร์ชูสกุล. (2561). แนวคิด หลักการ และยุทธวิธีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(1), 14-28.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2555). การสอนเคมี: การเรียนรู้ที่นักเรียนเป็นศูนย์กลางและการวัดผลแบบ formative. วารสาร สสวท, 40(179), 44-46.

สุวรรณา จุ้ยทอง. (2560). การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 143 - 152.

อพันตรี พูลพุทธา. (2560). รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2564). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครู. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(2), 169-183.

Bachhel, R., and Thaman, R. G. (2014). Effective use of pause procedure to enhance student engagement and learning. Journal of clinical and diagnostic research: JCDR, 8(8), XM01-XM03.

Barnes, M. (2015). Assessment 3.0: Throw Out Your Grade Book and Inspire Learning. Thousand Oaks: Corwin Press.

Bonwell, C.C., and Eison, J.A. (1991).Active Learning: Creative Excitement in the Classroom. Washington, D.C.: The George Washington University.

Korvick, L.M. (2010).The effects of the pause procedure on classroom engagement. [Doctoral Dissertation]. Oklahoma State University. (United Stated.)

Ruhl, K. L., Hughes, C. A., and Schloss, P. J. (1987). Using the pause procedure to Enhance lecture recall. Teacher Education and Special Education, 10, 14-18.

Wiggins, G., & McTighe, J. (1998). Understanding by Design. Alexandria, VA: Association for supervision and Curriculum Development.