ภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

Main Article Content

ณัฐพล จันทร์เพ็ง
ศุภธนกฤษ ยอดสละ
ทรงเดช สอนใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบ ให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กำหนดการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องจากนักวิชาการ จำนวน 10 คน ประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยผู้ทรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัย คือแบบประเมิน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 70 คน และครูหัวหน้างาน 4 ฝ่าย 280 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยวิธีการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของภาวะผู้นำให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ได้องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบให้บริการ 7 องค์ประกอบ คือ (1) การเสริมพลังอำนาจ (2) การบริการ (3) ความนอบน้อม (4) การรับฟัง (5) การตระหนักรู้ (6) การมีวิสัยทัศน์ และ (7) การไม่เห็นแก่ตัว ผลการวิเคราะห์การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 30 แนวทาง และวิธีการพัฒนา จำนวน 4 วิธี ได้แก่ 1) การฝึกอบรม 2) การศึกษาดูงาน 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 4) การศึกษาต่อ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม : เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์, 12(1), 18-19.

จิรวรรณ เล่งพานิชย์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิพสุคนธ์ บุญรอด. (2564). ภาวะผู้นำมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 486-500.

บังอร ไชยเผือก. (2550). การศึกษาคุณลักษณะของผู้นำแบบผู้รับใช้และบรรยากาศของโรงเรียนคาทอลิกสังกัดคณะภคินีพระกุมารเยซู. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปองภพ ภูจอมจิตร. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประภาพรรณ รักเลี้ยง. (2556). หลักทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

มัทนา นิถานานนท์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการกับผลการปฏิบัติงานของครูผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัตนากร ยิ้มประเสริฐ. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ลัดดาวัลย์ สอนสุภาพ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

วิไลภรณ์ ไชยะเดชะ (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในจังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์.

อรุณ พรหมจรรย์. (2556). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for ResearchActivities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Greenleaf, R.K.. (2002). Servant leadership: A journey into the nature of legitimate power and greatness. NJ: Paulist Press.

Patterson, K. (2003). Servant leadership: A theoretical model. Doctoral dissertation. Regent University, Virginia Beach, VA. USA.

Poon, R. (2006). “A model for servant leadership, self-eflicacy and mentorship school of leadership studies”. [Online] Available: http://www.regent.edu/acad/sls/ publications/conference_ proceedingsservant_leadership_roundtable/ 2004pd/Poon_model servant leadership.pdf. Retrieved August 20, 2022.

Sen Sendjaya, James C Sarros. (2002). Servant leadership: It's origin, development, and application in organizations. Journal of Leadership & Organizational Studies. 9(2) : 57-64.

Spears, L.C. (2002). Focus on Leadership: Servant-leadership for the 21st Century. John Wiley & sons.

Winston, B. (2003). Extending Patterson’s servant leadership model: Explaining how leaders and follower interact in a circular model. In Proceedings of the 2003 Servant Leadership Research Roundtable. Virginia Beach, VA: Regent University.

Yukl, G. (2010). Leadership in organizations (7th ed.). Pearson.