แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

Main Article Content

จีรนันท์ ปัญญาสาร
ศุภธนกฤษ ยอดสละ
ประภาพร บุญปลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา และระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 70 คน และครูหัวหน้ากลุ่มงาน 4 ฝ่าย จำนวน 280 คน รวม 350 คน และทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ มีระดับความเชื่อมั่น 0.91 จำนวน 50 ข้อ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหาร มีจำนวน 5 แนวทาง คือ (1) การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก (2) การสนับสนุนทางสังคม (3) พฤติกรรมประชาธิปไตย (4) พฤติกรรมการมีอำนาจ และ (5) การฝึกอบรมและการแนะนำ 25 แนวทางย่อย และ 4 วิธีการพัฒนา ได้แก่ การอบรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง 3) ผลการประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ชนิสา ฮวดศรี. (2556). โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปริชาติ สอนโก่ย. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบสอนงานของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิมพ์วลัญช์ นันทัยทวีกุล. (2557). ภาวะผู้นำของการบริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นเขต 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566). ค่าสถิติพื้นฐานระดับประเทศของผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. https://data.go.th/dataset/it-16-19

สันติ สิทธิจันดา. (2557). ภาวะผู้นำของผู้ฝึกสอนและความพึงพอใจของนักกีฬาที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรการเล่นและผลการแข่งขันฟุตบอลในการแข่งกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 27. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเพชรบูรณ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552, 19 สิงหาคม). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552- 2561). http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/695

อภิชาต อนันตภักดิ์. (2558). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

B2B International. (2021, 3 June). What is an in-depth interview?. Retrieved from https://www.b2binternational.com/research/methods/faq/what-is- a-depth-interview/

Blanchard, K. (2006). What keeps clients up at night?. Practical Accountant, 39(6), 9.

Boyatzis, R.E., Smith, M.L. & Blaize, N. (2006). Developing sustainable leaders through coaching and compassion. Academy of Management Learning and Education, 5,8–24.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Macfarlan, A. (2020, 7 January). In-depth Interviews. Retrieved from