แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 และ 3) ประเมินแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน และเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การตัดสินใจ 2) การประสานงาน 3) วัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม 4) วิสัยทัศน์ร่วม และ 5) ภาวะความเป็นผู้นำ 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยการ วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก สรุปได้แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 30 แนวทาง 3. การประเมินแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา มีผลการประเมินความถูกต้อง/ความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และได้วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำ จำนวนทั้งสิ้น 5 วิธี ได้แก่ 1) การดูงานนอกสถานที่ 2) การมอบหมายโครงการ 3) การหมุนเวียนงาน 4) การมอบหมายงาน และ 5) การให้คำปรึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2579). กระทรวงศึกษาธิการ
คมคาย น้อยสิทธิ์. (มิถุนายน, 2565). การพัฒนาองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และแบบประเมินภาวะผู้นำแบบ กระจายอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี.
วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1733-1737.
ฐาปณัฐ อุดมศรี. (2558). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาจรีรัตน์ อิงคะวะระ. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปภาวี พิพัฒนลักษณ์. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดภาวะผู้นำที่ยั่งยืน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร. (พ.ศ. 2561 - 2565). คู่มือการพัฒนาแบบ 70:20: 10 Learning Model. ม.ป.พ.
พัชรา เดชโฮม.(2563). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ วิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสาคร.มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
พัชรา วาณิชวศิน. (2561). การพัฒนาภาวะผู้นำ : จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. ปัญญาชน.
พัชราพร ศิริพันธ์บุญ. (กรกฎาคม-กันยายน, 2560). ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจที่ส่งผลต่อโรงเรียน สมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบัับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(4), 171-173.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดับของตะวันตก. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. 2550. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2564). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาปีการศึกษา2564. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3.
ศุภกานต์ ประเสริฐรัตนะ. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อัครเดช นีละโยธิน (2560). ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตาม
ทัศนะของครู จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน.
อรอนงค์ พรหมเดช. (มกราคม-เมษายน, 2561). การกระจายภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับ องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยและ พัฒนาสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 71-74.
Cacioppe R (1998). Leaders developing leaders: an effective way to enhance (eadership development programs. Leadership & Organization Development Journal 19(4): 194-198.
DeMatthews, D. (2014). "Principal and teacher collaboration: An exploration of Distributed leadership in professional learning communities." International Journal of Educational Leadership and Management 2(2): 176-206.
Gronn,P.(2002). Distributed Leadership as a Unit of Analysis. Leadership Quarterly.
Hallinger, P., & Heck, R. H. (2010). Collaborative leadership and school improvement: Understanding the impact on school capacity and student learning. School Leadership and Management, 30(2), 95-110.
Helen Gunter, Dave Hall and Joanna Bragg (2013). Distributed Leadership a study in Knowledge Production: Article in Educational Management Administration & Leadership Semtember 2013.
Leithwood, K.& Jantzi, D. (2000). The Relative Effects of Principal and Teacher sources of Leadership on Student Engagement with School. Educational Administration Quarterly. Vol. 35. 679 - 706.
Leithwood, K, & Jantzi, D. (2006). Linking leadership to student learning: The contribution of leader efficacy. Educational Administration Quarterly, 44(4), 496-528.
Spillane, J.P. (2006). Distributed leadership. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Spillane, J. P., Halverson, R. & Diamond, J.B. (2004). towards a theory of leadership
practice: A distributed perspective. Journal of Curriculum Studies, 36(1), 3-34.