ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

Main Article Content

วิยะดา เจียวรัมย์
ศุภธนกฤษ ยอดสละ
พนา จินดาศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา      2) ศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 341 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยค่าความเชื่อมั่นภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีความสัมพันธ์กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.824 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กัลยา อาทรกิจ และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2559). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา.

จิรประภา อัครบวร. (2554). พัฒนาคน บนความยั่งยืน. เต๋า (2000).

เชวงศักดิ์ เลิศรักษ์ทวีกุล. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2551). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณษฐ์ ชาญประเสริฐ. (2555). แนวทางการใช้ภาวะผู้นําาเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2552). องค์การแห่งความรู้: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. แซทโฟร์ พริ้นติ้ง.

นาถธิดา เจริญสุข. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ, 6(3), 288-298.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยสำหรับครู. สุวิริยาสาสน์.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. ธิงค์ บียอนด์บุ๊คส์

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2554). ภาวะผู้นำ. ธนธัชการพิมพ์.

วรารักษ์ หนึ่งโชคชัย. (2557). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2544). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้แนวคิดทางการบริหารการศึกษา: กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). ทิพยวิสุทธ์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ.2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

อังศุมาลิน กุลฉวะ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

อรุณี อัตกลับ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bateman, Thomas S. & Scott A. Snell. (1999). Management: Building Competitive Advantage (4th ed.). Boston: McGraw-Hill.

DuBrin. (1998). Leadership Research Findings, Practice, and Skills. Boston Houghton: Mifflin Company.

Garvin, David A. (1993, July-August). Building a learning organization. Harvard Business, 71 ,78-91.

Gill, R. (2006). Theory and Practice of Leadership. Sage.

Hughes, L.W. (1999). The Principle as Leader (2nd ed). Prentice–Hall.

Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning Organization: A System Approach to Quantum Improvement and Global Success. McGraw–Hill.

Marquardt & Reynolds. (1994). The Global Learning Organization. Irwin.

Razik, T.A., & Swanson, A.D. (2001). Fundamental Concepts of Educational Leadership (2nd ed.). Merrill Prentice–Hall.

Robbins, S.P., & Coulter, M. (2003). Management (7th ed.). Pearson Education.

Senge, P.M.(1990).The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. Currency Doubleday.