การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการแต่งหน้าเพื่อการอาชีพ สำหรับนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

Main Article Content

ศิริชัย สมคะเณย์
พรชัย ผาดไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการแต่งหน้า           เพื่อการอาชีพสำหรับนักศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร 2) เพื่อศึกษาทักษะการปฏิบัติการแต่งหน้าเพื่อการอาชีพ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70             3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้หลักสูตรฝึกอบรมทักษะการแต่งหน้าเพื่อ   การอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล      สามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสำรวจความต้องการในการพัฒนาอาชีพเพื่อการแต่งหน้า 2) หลักสูตรฝึกอบรมทักษะการแต่งหน้าเพื่อการอาชีพ 3) แบบวัดทักษะการปฏิบัติการแต่งหน้าเพื่ออาชีพ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีเทียบกับเกณฑ์ และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ


              ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมทักษะการแต่งหน้าเพื่อการอาชีพ พบว่า หลักสูตร       มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.84 - 5.00 คิดเป็นร้อยละ 98.40 2) นักศึกษา              ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ที่ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการแต่งหน้าเพื่อการอาชีพ มีทักษะการปฏิบัติการแต่งหน้าเพื่อการอาชีพ    สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) นักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ที่ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการแต่งหน้าเพื่อการอาชีพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม    อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. สยามสปอรต์ ชินดิเค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดยโสธร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

การศึกษานอกโรงเรียน. (2555). กรมแนวทางการดำเนินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน. รังสีการพิมพ์.

กัลยา เท้น. (2546). FUNDAMENTAL MAKE UP ศิลปะการแต่งหน้าพื้นฐาน. วงตะวัน.

กาญจนา คุณารักษ์. (2540). หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

กาญจนา คุณารักษ์. (2540). หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนิสรา เทียมตระกูล. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการจัดดอกไม้ในงานพิธีสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเจริญ คิริเนาวกุล. (2562, 4 กรกฎาคม). หลักสูตร Reskill & Upskill. https://www.salika.co/2019/09/23/reskill-upskill-program-education/.

บุญชม ศรีสะอาดและคณะ. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). ประสานการพิมพ์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

ยุพา แขหินตั้ง. (2559, 4 กรกฎาคม). ปัญหาหลักสูตร กศน. https://www.gotoknow.org/posts/619455

รุ้งศิรินทร์ จันทร์หอม. (มกราคม - เมษายน 2545). การสร้างเกณฑ์การประเมินผลงานทางคหกรรมศาสตร์ด้วยรูบริค. วารสารศึกษาศาสตร์, 14(1), 25 - 30.

วันทนา เนาว์วัน. (2548). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเลิงนกทา. (2564) รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเลิงนกทา.

สิราวิชญ์ วราโชติชนกานต์ และ วิสูตร โพธิ์เงิน. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นสำหรับผู้ประกอบการอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(2), 180 - 182.