การศึกษาความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Main Article Content

ชนมน สุขวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ชั้นปีที่ 1 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบวัดความฉลาดในการเผชิญอุปสรรค จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.82  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที


              ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีระดับความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความสามารถในการควบคุมอุปสรรคมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ด้านความสามารถในการอดทนและทนทานต่อปัญหาและอุปสรรคและด้านความสามารถในการนําตนเองเข้าไปแก้ไขอุปสรรค ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาที่มีเพศต่างกันพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)
Author Biography

ชนมน สุขวงศ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

จิตวิทยาการศึกษา

References

กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์, ปรัศนีย์ เกศะบุตร, และ ปิยวุฒิ ศิริมงคล. (2559). ภูมิหลัง ความสามารถในการ

สร้างสรรค์และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบ

การของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 86-99.

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2563). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมสุขภาพจิต. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กระทรวงสาธารณสุข.

ณัฐสยานันท์ เวทำ. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่า

อุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร

วิทยาเขตแพร่, 7(1), 231-245.

ปัทมา นาแถมเงิน, ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ, และ กุลภัสสร ศิริพรรณ. (2560). การพัฒนาแบบวัดเชิงสถานการณ์

เพื่อวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค (AQ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วารสาร

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(5), 54-62.

ลดารัตน์ ศรรักษ์. (2556). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ ทางการ

เรียนวิชาสถิติธุรกิจแบบผสมผสานของนักศึกษาคณะบัญชีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสาร มฉก.

วิชาการ, 17(33), 17-34.

สมหญิง จันทรุไทย และ เกียรติศักดิ์ อิชยานันท์. (2560). ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์และความสามารถ

ในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้น

พื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 189-198.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ. (2565, 30 กรกฎาคม). สถิติข้อมูลนักศึกษา. http://www.oass.

sskru.ac.th/OASS.html.

อังคณา ศรีทิพย์ศักดิ์, สังวาร วังแจ่ม, และ สุดา เนตรสว่าง. (2565). แนวทางการบริหารระบบสารสนเทศ

เพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตกลุ่มดอยอินทนนท์สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ,

(3), 130-146.

อมรวรรณ เวชกามา. (2563). ความฉลาดในการแก้ไขอุปสรรคของผู้อำนวยการกับบรรยากาศองค์การ

ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Arora, S., Ashrafian, H., Davis, R., Athanasiou, T., Darzi, A., & Sevdalis, N. (2010). Emotional

intelligence in medicine: a systematic review through the context of the ACGME

competencies. Medical Education, 44, 749-764.

Best, J. W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

De Costa. (2015). Reenvisioning language anxiety in the globalized classroom through a

social imaginary lens. Language Learning, 65(3), 504-532.

Krejcie Robert V. and DaryleW. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research

Activities. Journal of Education and Psychological, 3, 606-610.

Mangrulkar, L., Whitman, C & Ponner, M. (2001). Life Skills Approach to Child and

Adolescent Health Human Development. Washington, DC: Education

Development Center, Inc.

Stoltz, P. G. (2000). Adversity quotient finding your hidden capacity for getting thing’s

done. New York: Harper-Collins.

Stoltz, P. G., & Erik, W. (2010). Turning everyday struggles into everyday greatness. The

Adversity Advantage. New York: Simon and Schuster.

World Health Organization. (2011). Life skill Education in schools. Geneva: World Health

Organization.