ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศร่วมกับบอร์ดเกมส์ UNO “SEX-เสี่ยงเลี่ยงได้” ในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศร่วมกับบอร์ดเกมส์ UNO “SEX-เสี่ยงเลี่ยงได้” ในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มทดลองจำนวน 35 คน ได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศร่วมกับบอร์ดเกมส์ UNO “SEX-เสี่ยงเลี่ยงได้” กิจกรรม ได้แก่ การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลความรอบรู้สุขภาพทางเพศด้วยกิจกรรม “ตุ๊กตาล้มลุก” การพัฒนาความเข้าใจผ่านกิจกรรม “รู้เขา รู้เรา” ซึ่งเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “QQR (Quantity, Quality, Route of transmission)” การพัฒนาการการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพทางเพศด้วยการสื่อสารเรื่องเพศ การสื่อสารความรอบรู้สุขภาพทางเพศด้วยกิจกรรมแลกน้ำ เพื่อพัฒนาการตัดสินใจในการหลีกเลี่ยงร่วมกับการใช้บอร์ดเกมส์ UNO “SEX-เสี่ยงเลี่ยงได้ และละครบทบาทสมมุติ และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 35 คน ซึ่งใช้ชีวิตตามปกติ ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรม 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลัง การทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ Paired t–test และ Independent t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเข้าถึง การเข้าใจ การรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ และการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์มากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 และภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference = 8.17, 95%CI = 7.16 ถึง 9.18; p-value <0.001) และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference = 8.51, 95%CI = 6.84 ถึง 10.19 ; p-value <0.001) ดังนั้น โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศร่วมกับบอร์ดเกมส์ UNO “SEX-เสี่ยงเลี่ยงได้” สามารถนำไปใช้ในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ. (2564). องค์การสหประชาชาติ ร่วมภารกิจยุติเอดส์ให้ได้ภายในปี 2573.
ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565, จาก https://workpointtoday.com/unaids/
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค, (2564). การคาดประมาณการณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวี. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/das/
ศูนย์รวบข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย. (2564). อัตราผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ปี 2564. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565, จาก https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php
งานควบคุมโรคและกามโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ .(2565). สถานการณ์โรคเอดส์ประเทศไทย และจังหวัดศรีสะเกษ (ศูนย์ข้อมูลสถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดศรีสะเกษ) ; มกราคม 2528 – 31 มกราคม 2565
กุสุมาลย์ มีพืชน์. (2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของนักเรียนอาชีวศึกษาเพศชาย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา.
สิริพร ภิยโยทัย, นุชนารถ แก้วดำเกิง, จุฑามาศ มากกุญชร, ศิริกูล ชัยเจริญ, เบญจมาศ ใจงาม, เกศินี เขียนวารี. (2564). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมฝึกทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน. วารสารโรคเอดส์, 33(3). ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565, จากhttps://he02.tcithaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/250486
ศดานันท์ แก้วศรี (2563). การออกแบบและพัฒนาเกมกระดานเรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม
,จากhttp://ir.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/265/1/Sadanan%20Kaewsri%2000210171.pdf
ปริยานุช ตั้งนรกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล. (2562).ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสานแพทย์นาวี, 46(3),607-620.
ประภัสสรา พิศวงปราการ, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล และอรสา กงตาล. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 15(1), 1-14.
วานิศา ประโยชน์มี, อรพินท์ สีขาว และชฎาภา ประเสริฐทรง. (2563). ผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารพยาบาลทหารบก. 21(2), 150-157.
พีรพล ไชยชาติ, เกศินี สราญฤทธิชัย (2562). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 37(4), 42-51.
ปุณยนุช สละชั่ว, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. (2565). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้เท่าทันสื่อสุขภาพด้านเพศต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 17(3), 244-253