ปัญหาข่าวลวงทางการเมืองบนสื่อสังคมออนไลน์ : ความท้าทายในการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย

Main Article Content

วราภรณ์ วนาพิทักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข่าวลวง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ลักษณะเป็นเท็จ ปลอม หรือทำให้เข้าใจผิด อันอาจก่อให้เกิดความหลงผิดของปัจเจกชน ก่อให้เกิดความเห็นที่แตกแยกของกลุ่มคนในสังคม และส่งผลกระทบและความเสียหายต่อสังคมการเมือง หรือความมั่นคงของประเทศ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการเผยแพร่ข่าวลวงของประเทศไทย และสาธารณรัฐฝรั่งเศสจากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้กับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย ต่างจากกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสซึ่งมีกฎหมายเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวลวงทางการเมือง ซึ่งกำหนดให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งลบเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่ศาลเห็นว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงในระหว่างการเลือกตั้ง และกฎหมายระบุว่าผู้ใช้จะต้องได้รับ “ข้อมูลที่เป็นธรรมชัดเจนและโปร่งใส” หากมีการกระทำการโดยเจตนาเผยแพร่ข้อมูลเท็จ และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการลงคะแนนเสียง จะต้องได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ ด้วยเหตุนี้ บทความนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. กฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ ฯ : วิญญูชน. 2557.

สราวุธ ปิติยาศักดิ์. คำอธิบาย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม. 2561.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, รายงานการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563, สืบค้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx

House of Commons Digital, Culture, Media, and Sport Committee. Disinformation and ‘fake news’: Final Report. Eighth Report of Session 2017–19. Retrieved August 17, 2021, from https://publications.parliament.uk/pa/cm201719/cmselect/cmcumeds/1791/1791.pdf.

Library of Congress. Initiatives to Counter Fake News: France. Retrieved March 4, 2021 from https://www.loc.gov/law/help/fake-news/france.php

Library of Congress. Government Responses to Disinformation on Social Media Platforms: Comparative Summary. Retrieved March 4, 2021 from https://www.loc.gov/law/help/social-media-disinformation/compsum.php

Sénat. Loi organique relative à la lutte contre la manipulation de l'information. Retrieved March 5, 2021 from https://www.senat.fr/dossier-legislatif/ppl17-629.html