จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมการตีพิมพ์บทความ
วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา (RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts) กำหนดบทบาทหน้าที่และจริยธรรมการตีพิมพ์บทความ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในวารสาร ได้แก่ ผู้แต่ง (Author) บรรณาธิการ (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติเดียวกันและมาตรฐานที่มีความสำคัญ ดังนี้
บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของผู้นิพนธ์
1.ผู้นิพนธ์ต้องส่งผลงานใหม่ ไม่เคยนำเสนอในรูปแบบ proceeding และตีพิมพ์วารสารมาก่อน
2.ผู้นิพนธ์ต้องจัดทำบทความเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน "คำแนะนำสำหรับผู้เขียน"
3. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัย หรือการศึกษาจริง
4. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อมูลจากผลการศึกษา วิจัย ที่เป็นจริง ไม่บิดเบือนหรือรายงานข้อมูลอันเป็นเท็จ
5. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นและผลงานของผู้นิพนธ์เอง หากนำมาใช้ในบทความต้องมีการอ้างอิงที่ปรากฏทั้งในเนื้อหา และรายการอ้างอิงท้ายบทความ
6. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนสนับสนุนในการทำการศึกษา วิจัย ตลอดจนระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
7. ผู้นิพนธ์ต้องไม่ส่งตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงาน กับแหล่งอื่นในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสาร
บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ
1. กองบรรณาธิการกำหนดระเบียบ รูปแบบ หลักเกณฑ์ และจริยธรรมในการตีพิมพ์
2. กองบรรณาธิการพิจารณาเนื้อหาบทความทางวิชาการทุกเรื่องที่เข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตลอดจนด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความสมบูรณ์ขององค์ประกอบในบทความต้นฉบับ ความสอดคล้องกับเป้าหมายและศาสตร์ของวารสาร คุณภาพบทความ ความถูกต้องและทันสมัย รวมถึงไม่คัดลอกผลงาน หรือตีพิมพ์จากที่อื่นมาก่อนแล้ว ตัดสินใจคัดเลือกบทความเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์ และตอบรับการตีพิมพ์บทความที่ผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยใช้ผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณา
3. กองบรรณาธิการกำหนดและประสานผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญสอดคล้องกับบทความนั้น ๆ อย่างน้อย 2 ท่าน และดำเนินการตามกระบวนการประเมินคุณภาพของบทความ (double-blind peer review) เพื่อให้เป็นไปตามการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (ศูนย์ TCI)
4. กองบรรณาธิการกับผู้นิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และวารสาร ต้องปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ
5. กองบรรณาธิการต้องรักษาข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิเป็นความลับ ตลอดกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์
6. กองบรรณาธิการ โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือตามหลักสากลในการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) หากพบว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ของตนเอง หรือพบการตีพิมพ์จากที่อื่นมาแล้วทั้งในรูปแบบวารสาร หรือบทความหลังการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการฉบับเต็ม (Proceeding) บรรณาธิการต้องติดต่อผู้นิพนธ์หลักเพื่อขอทราบคำชี้แจง หากผู้นิพนธ์หลักไม่ชี้แจง หรือคำชี้แจงไม่มีเหตุผลตามหลักวิชาการ บรรณาธิการสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
7. กองบรรณาธิการดำเนินการพิจารณาบทความโดยปราศจากอคติต่อผู้นิพนธ์ ทั้งต้นสังกัด ตำแหน่งทางวิชาการ อายุ เพศ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และการเมือง รวมถึงต้องใช้หลักทางวิชาการพิจารณาตลอดกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์
8. กองบรรณาธิการต้องปฏิบัติระบบบริหารจัดการวารสาร เพื่อรักษามาตรฐานของวารสารและคุณภาพทางวิชาการ รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความจะประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยพิจารณาจาก ความสมบูรณ์ขององค์ประกอบในบทความ ความสอดคล้องกับของเนื้อหาบทความ คุณภาพบทความ ความถูกต้องและทันสมัย รวมถึงหากพบบทความที่คัดลอกผลงาน หรือตีพิมพ์จากที่อื่นมาก่อนแล้ว ผู้ประเมินต้องดำเนินการแจ้งให้บรรณาธิการทราบในทันที ตลอดจนไม่ตัดสินบทความ โดยใช้ความเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับเป็นเกณฑ์ในการประเมิน และตัดสินบทความโดยปราศจากอคติ สามารถเสนอแนะผลงานวิจัย ทฤษฎี แนวคิด ที่มีประโยชน์ต่อบทความเข้ารับประเมิน ซึ่งผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างอิงถึง
2. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินและให้ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการได้อย่างอิสระ โดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือวารสาร หากมีผลประโยชน์ทับซ้อนให้ผู้ประเมินบทความแจ้งให้บรรณาธิการทราบ และปฏิเสธการประเมินและให้เสนอแนะต่อบทความนั้น
3. ผู้ประเมินบทความไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความและผู้นิพนธ์บทความ แก่บุคคลอื่น ตลอดระยะเวลาการประเมินบทความ
4. ผู้ประเมินต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์ใดๆ จากบทความหรือผู้นิพนธ์
5. ผู้ประเมินบทความต้องดำเนินการตามกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์โดยให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาประเมินบทความตามที่ได้ตกลงไว้กับวารสาร