ความชาญฉลาดในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของความชาญฉลาดในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย จำนวน313 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์เพื่อตอบสมมติฐานงานวิจัย คือ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าความชาญฉลาดในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพด้านความมีเหตุผลในการตั้งข้อสงสัย ด้านการประเมินหลักฐานอย่างระมัดระวังและด้านการตัดสินใจตามสถานการณ์ มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย ดังนั้นผู้สอบบัญชีควรให้ความสำคัญกับการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนว่างบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิจัยนี้เป็นของลิขสิทธิ์
References
จิรัฐติกาล วุฒิพันธุ์, กฑิตา พันธ์ยาง, กนกวรรณ คำเพ็ง, จิรประภา สุขสม, ธนัชพร ใจบุญ, ปรีดี โสดาดง และสุจิตรา ทองไลย์. (2560). การใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในสำนักงาตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 155-168.
ทัศนีย์ แสงสว่าง. (2555). แนวทางการประเมินความเสี่ยงการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขต ๗ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2559). การสอบบัญชี. กรุงเทพฯ: หจก.ทีพีเอ็น เพรส.
รศ.อุเทน ปัญโญ และดรสุดาวดี ลิ้มไพบูลย์.(2016). วิธีแสวงหาความรู้. สืบค้นจาก https://sudawadeelim.wixsite.com/stat4you/single-post/2016/10/02
วรวิทย์ เลาหะเมทนี. (2558). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมเชิงวิชาชีพ กับการสังเกตเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และคุณภาพงานสอบบัญชี: การศึกษาเชิงประจักษ์จากผู้สอบบัญชี รับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 8(2), 56-70.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 200 วัตถุประสงค์ โดยรวมของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและการปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี. กรุงเทพฯ.สืบค้นจาก http://www.fap.or.th/
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทยที่เปิดเผยข้อมูลกับสภาวิชาชีพบัญชี. สืบค้น 5กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://eservice.tfac.or.th/fap_registration/cpa-contact-list.
ไพลิน ตรงเมธีรัตน์ และนวพร พวงมณี. (2557). ว่าด้วยความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ. วารสาร วิชาชีพการบัญชี, 10(27), 78-85.
BBC. (2015). Toshiba chief executive resigns over scandal. Retrieved 1 January 2021. from http://www.bbc.com/news/business-33605638
Black, K. (2006). Business Statistics For Contemporary Decision Making. USA: JohnWileyand Son
Fiedler, FE. (1967). A Theory of Leadership Effectiveness. New York: McGraw-Hill
Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (2006). Multivariable Data Analysis. 6Th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Hurtt, R. K. (2010). Development of a scale to measure professional skepticism. A Journal of Practice & Theory, 29(1), 149-171.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Malhotra, M. K. and Grover, V. (1998). An assessment of survey research in POM: from constructs to theory. Journal of Operation Management, 16(4), 407-425.
McMillan J.J.,White R.A., (1993). Audirors’ belief revisions and evidence search:The effect of hypothesis frame, confirmation and professional skepticism. The accounting Review, 68(3), 443-465.
Mitchell, R.C. (1989). Resources for the Future. Usingsurveysto Value Public Goods: The Contingent Valuation Method.
Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion – referenced test item validity. journal of Educational Research, 49-60.
www.kroobannok.com. (2564). ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์(The contingency approach). สืบค้นจาก http:// kroobannok.com/20420