ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

Main Article Content

อโนทัย พลภาณุมาศ

บทคัดย่อ

จากงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ 2) ศึกษาความแตกต่างระหว่างนักศึกษาหลักสูตร 4 ปีกับหลักสูตรเทียบโอนต่อการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก จำนวน 132 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ Independent Sample: (T-test) ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มีพฤติกรรมการออมอยู่ในระดับปานกลาง (equation= 3.35) ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการออมเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น หรือ ยามฉุกเฉิน รวมถึงมีการออมในรูปแบบสินทรัพย์ทางการเงินมากที่สุด เงินฝากออมทรัพย์เป็นประเภทเงินฝากที่ใช้บริการกับธนาคารกรุงไทย จำกัด อีกทั้งศึกษาความแตกต่างระหว่างนักศึกษาหลักสูตร 4 ปีกับหลักสูตรเทียบโอนต่อพฤติกรรมการออมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
พลภาณุมาศ อ. (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 12(2), 1–12. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/266680
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไกรวิชญ์ ประชุมพันธ์ ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์และสุคนธ์ เครือน้ำคำ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของ ผู้บริโภคเพื่อใช้จ่ายในอนาคตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(2), 320-327.

กนก พล สม วรรณ. (2017). พฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนในเขต กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัย ราชภัฏ สวนสุนันทา, 10(1), 1-9.

ดวงกมล สุวรรณล้วน. (2562). ความสนใจและความตระหนักรู้ในการวางแผนการออมเงินกับพฤติกรรมการออมเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณจังหวัดพัทลุง. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565) รายงานผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทย สืบค้น 31 ธันวาคม 2566, จาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/fl-survey-report.html

นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์. (2566). ออมเงินอย่างไรให้สำเร็จ. สืบค้น 31 ธันวาคม 2566, จากhttps://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/salary-man/how-to-save-money.html

ปรารถนา หลีกภัย. (2563.) พฤติกรรมการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 111-126.

พิมพ์จันทร์ ชวดจะโป๊ะ, ทับทิม พิมพ์สาลี, พัชริดา โสมาศรี และอทิยา สุทธิพงษ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออมของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต). อุดรธานี: ราชภัฏอุดรธานี.

วันวิสาห์ ไกยะฝ่าย, สุภาวดี สุวิธรรมา, นิภาดา จรัสเอี่ยม, อารยา สุระสุข และนุศราพร

สุสูงเนิน. (2563). พฤติกรรมการออมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 5(1), 31-42.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2565). บัญชีประชาชาติ. สืบค้น17 เมษายน 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=national_account

Lugilde, A., Bande, R., & Riveiro, D. (2019). Precautionary saving: a review of the empirical literature. Journal of Economic Surveys, 33(2), 481-515.

Keynes, J. M. (1964). The general theory of employment, interest and money (1936). The Collected Writings of John Maynard Keynes, 7, 1971-9.

Kumnerdpetch, K. (2022). Factors affecting savings of gen Y in Bangkok. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 15(1), 125-136.

Modigliani, F., & Brumberg, R. (1954). Utility Analysis and the Consumption Function: An Interpretation of Cross Section Data, Post Keynesian Economics. Franco Modigliani, 1, 388-436.

Yamane, Taro. (1973). Statistic: Introductory Analysis. New York: Harper & Row.