บทบาทการดูแลผู้สูงอายุตามหลักฆราวาสธรรม4 ในการเชื่อมโยงไปสู่การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

Main Article Content

บุญชนิต วิงวอน
รุ่งอรุณ เม้าพานิชย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาความสำคัญของบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุ การสนับจากเครือข่าย การดูแลผู้สูงอายุตามหลักฆราวาสธรรม4 และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (2) เพื่อศึกษาบทบาทผู้ดูแล การสนับจากเครือข่าย การดูแลผู้สูงอายุตามตามหลักฆราวาสธรรม 4 ส่งผลต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และ (3) เพื่อทดสอบบทบาทผู้ดูแลผู้สูงอายุตามหลักฆราวาสธรรม 4 ในการเชื่อมโยงไปสู่การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ วิธีการสุ่มแบบเฉพะเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 397 คน สถิติที่ใช้สถิติพรรณนา เพื่อหาค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ เทคนิคการนำเข้าทั้งหมด


ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ดูแลผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับหลักฆราวาสธรรม 4 มากที่สุด (equation=4.50) รองลงมา คือ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมากที่สุด (equation=4.40) และบทบาทการดูแลผู้สูงอายุระดับมาก (equation=4.08) ลำดับสุดท้ายการสนับสนุนจากเครือข่ายระดับปานกลาง (equation=3.23) (2) ผลวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า การสนับสนุนจากเครือข่ายมีผลต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.850 รองลงมา คือ การดูแลผู้สูงอายุตามตามหลักฆราวาสธรรม 4 มีผลต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.770 และบทบาทการดูแลผู้สูงอายุมีผลต่อการสนับสนุนจากเครือข่าย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.727 ลำดับสุดท้ายบทบาทการดูแลผู้สูงอายุมีผลต่อหลักฆราวาสธรรม 4 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.723. และ (3) ผลการทดสอบบทบาทผู้ดูแลผู้สูงอายุตามหลักฆราวาสธรรม 4 ในการเชื่อมโยงไปสู่การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่าหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นตัวแปรที่ถ่ายทอดอิทธิพลของบทบาทการดูแลผู้สูงอายุไปสู่การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ทั้งนี้หลักฆราวาสธรรม 4 มีส่วนช่วยให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีทักษะที่เหมาะสม มีความเมตตาและความอดทนผ่านการดูแลเอาใจใส่ ดังนั้น หลักการดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผลในการดูแลผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งความเอื้ออาทรและความสุขร่วมกัน แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาทักษะของผู้ดูแลเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยสร้างชุมชนที่ทุกคนมีความเห็นอกเห็นใจและความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกัน

Article Details

How to Cite
วิงวอน บ., & เม้าพานิชย์ ร. (2024). บทบาทการดูแลผู้สูงอายุตามหลักฆราวาสธรรม4 ในการเชื่อมโยงไปสู่การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 12(2), 149–166. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/270990
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580).สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก www.dop.go.th/th/laws/1/28/843

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก www.dop.go.th/th/know/15/926

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). จำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 แบ่งตามช่วงอายุ. สืบค้น19 เมษายน 2567, จากhttps://www.dop.go.th/th/laws/1/33/816

กรมการปกครอง. (2564). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในประเทศไทย และร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. สืบค้น 23 มิถุนายน 2567, จากhttps://mis5.dopa.go.th/

ธิติรัตน์ ราศิริ และอาจินต์ สงทับ. (2561). แนวทางการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อก้าวสู่ “ศตวรรษที่ 21”. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 315-328.

นารีรัตน์ จิตรมนตรี, วิไลวรรณ ทองเจริญ และสาวิตรี ทยานศิลป์. (2564). ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของชุมชนเขตเมือง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(3), 67-74.

ปรียะพงษ์ คุณปัญญา, กีรติ บุญเจือ และรวิช ตาแก้ว. (2564). การสอนฆราวาสธรรมเพื่อการอบรมบ่มนิสัย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิจักษ์และวิธาน. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, 982-995.

พระใกล้รุ่ง ปญฺญาวชิโร. (2559). หลักฆราวาสธรรมกับการปฏิบัติตนสู่ความดีงาม. วารสารมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5(2), 263-271.

พิสมัย สุระกาญจน์ และดารุณี จงอุดมการณ์. (2562). บทบาทของผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพของสมาชิกครอบครัวที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง: การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ แบบการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 26(2), 83-92.

ศิริพันธ์ สาสัตย์. (2551). การพยาบาลผู้สูงอายุ: ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการดูแล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง และภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิง ในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 235-247.

อรวรรณ ศรีเกิน, มิ่งขวัญ ภูหงส์ทอง และพรรณิภา ไชยรัตน์. (2562). การพัฒนาแนวทางอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ในการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง.วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 1(2), 39-54.

อัจฉรา นวจินดา และขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ. (2563). ความพึงพอใจ: ตัวแปรกลางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

อรุณี สัณฐิติวณิชย. (2562). การจัดการเครือข่าย: กรณีศึกษาการดูแลผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองวารินชำราบ และเทศบาลตำบลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 296-313.

อติญาณ์ ศรเกษตริน ดาราวรรณ รองเมือง และรุ่งนภา จันทรา. การศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21: สมรรถนะและบทบาทของอาจารย์พยาบาล.วารสารพยาบาลทหารบก 2562;20(1):12-20.

Collins, A.L., Goldman, N. & Rodriguez, G. (2008). Is Positive Well-Being Protective of Mobility Limitations among Older Adults?. Journals of Gerontology Series B: Psychological Sciences and Social Sciences, 63, 21-327.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. (1st ed.). Oxford, England: John Wiley.

Likert, R. (1970). A Technique for the Measurement of Attitude. In G.F.Summer (ED). New York: Rand McNally. Brace & World.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric Theory. (2nd ed.), New York: McGraw-Hill,

Power, M. J., Bullinger, M., & Whoqol Group. (2002). The Universality of Quality of Life: An Empirical Approach Using the WHOQOL. The Universality of Subjective Wellbeing Indicators. (129-149). Netherland: Kluwer Academic Publishers.

World Health Organization. (‎1998)‎. World Health Organization Organisation mondiale de la Santé. The World Health Report 1998 Life in The 21st Century: A Vision For All. Retrieved April 3, 2567. From https://apps.who. int/gb/archive/pdf_files/WHA51/ea3.pdf