สมรรถนะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชี

Main Article Content

หรัทรภา ไชยเนตร
สุขเกษม ลางคุลเสน
ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของสมรรถนะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ทำการสอบบัญชีในประเทศไทย จำนวน 11,206  ราย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเฉพาะท่านที่ประสงค์เปิดเผยข้อมูลเพื่อการติดต่อ จำนวน 1,073 ราย โดยได้รับการตอบกลับ จำนวน 291 ราย


ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคดิจิทัล ด้านประสบการณ์ในงานสอบบัญชี ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบและด้านทัศนะคติทางวิชาชีพ มีผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพการสอบบัญชี ในขณะที่ด้านความรอบรู้ในกระบวนการสอบบัญชี ไม่มีมีผลกระทบต่อคุณภาพการสอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นผู้สอบบัญชีควรให้ความสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะด้านประสบการณ์ในงานสอบบัญชี ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบและด้านทัศนะคติทางวิชาชีพเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งเพื่อช่วยทำให้การปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีมีคุณภาพ

Article Details

How to Cite
ไชยเนตร ห. ., ลางคุลเสน ส., & ฐิติยาปราโมทย์ ณ. (2024). สมรรถนะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชี. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 12(2), 13–26. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/272088
บท
บทความวิจัย

References

กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ และสุขจิตต์ ณ นคร. (2562). ปัจจัยของนักบัญชียุดดิจิทัล ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(I), 17-31.

แดน กุลรูป. (2022).อิทธิพลเชิงโครงสร้างของสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการสอบบัญชีและการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1), 141-158.

นภัทร จันทรจตุรภัทร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการมุ่งเน้นสมรรถนะทาง ด้านวิชาชีพบัญชีแบบ มืออาชีพ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 112-124.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

ปุณยนุช คำหวาน. (2556). ผลกระทบของความรอบรู้ในการสอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.(ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตติยา วงศรีลา และจิรพงษ์ จันทร์งาม. (2560). ผลกระทบของสมรรถนะการสอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพมหานคร.สืบค้น 2 เมษายน 2566 จาก http://dspace .spu.ac.th/bitstream/123456789/5654/1/ /รัตติยา%20วงศรีลา.pdf).

วสันต์ ครองมี, ปุณยวีร์ ยังดี และพุฒิสรรค์

เกตุมรรค. (2563). ผลกระทบของทักษะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบริการด้านบัญชี จังหวัดเชียงใหม่.วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(1), 67-86

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ (2566) ความหมายของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (CPA) สืบค้น 2 เมษายน 2565 จาก https://acprostd.tfac.or.th/standard/

อริยา สรศักดา. (2562). สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพ. (สารนิพนธ์ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อาภากร นาหนองขาม และเนตรดาว ชัยเขต. (2022) ผลกระทบของการรับรู้สมรรถนะการสอบบัญชีที่มีต่อการรับรู้คุณภาพรายงานการสอบบัญชี ของนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University, 9(2).

Almasria, Airout, Saadat & Jrairah. (2021). The role of accounting information systems in enhancing the quality of external audit procedures. Journal of Management Information and Decision Sciences, 4(2), 1-23.

Dao Thi Hong Nhung. (2023). Digital Accounting Systems (DIS): Concepts, Components and Roles in Business. International Journal of Research in Vocational Studies, 3(1), 10-14.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall

Ibrahim, A., & Skoumpopoulou, D. (2023). Organizational Routines and Digital Transformation: An Analysis of How Organizational Routines Impact Digital Transformation Transition in a Saudi University. Systems, 11, 1-30.

Nwakeze, E.O. & Onwuliri, O. (2023). E-Accounting and Digital Framework for Diplomates in Nigeria. European Journal of Theoretical and Applied Sciences, 1(3), 203-214.

Pargmann, J., Riebenbauer, E., & Berding, F. (2023). Digitalization in accounting: a systematic literature review of activities and implications

for competences. Empirical Research in Vocational Education and Training, 15(1), 1-37.

Roy, S.C. (1999). Introduction to Nursing:

An Adapftation Model. Englewood ctiff, N. j.: Prentice Hall.

Williams, T. (2020). Artificial Intelligence and its Implications for Audit. Audit & Technology Quarterly.