การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ปลูกและแปรรูปชาอัสสัม ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ลัดดา ปินตา
วรการ ใจดี
หฤทัย อาษากิจ
พินิจ เนื่องภิรมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ปลูกและแปรรูปชาอัสสัม ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และประเมินคุณภาพของระบบ เพื่อให้หน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบล
ป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ นำไปจัดเก็บข้อมูลผู้ปลูกและแปรรูปชาอัสสัม ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการพัฒนาแบบวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) โดยทำงานในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน ใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) พีเอชพี (PHP) และระบบจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) จากนั้นทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล โดยระบบแบ่งผู้ใช้ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ และเจ้าหน้าที่ ผลของการพัฒนาระบบสามารถสรุปการใช้งานได้ดังนี้ คือสามารถจัดการข้อมูลผู้ปลูกและแปรรูปชาอัสสัม สามารถเรียกดูข้อมูลผู้ปลูกและแปรรูปชาอัสสัม ส่งออกข้อมูลผู้ปลูกและแปรรูปชาอัสสัมเป็นไฟล์โปรแกรมตารางคำนวณและไฟล์ PDF จากนั้นคณะผู้วิจัยได้นำระบบที่พัฒนาขึ้นไปทำการติดตั้งและให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดเก็บข้อมูลจำนวน 5 รายทดลองใช้ระบบ ผลการประเมินคุณภาพของระบบโดยผู้ใช้งาน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.45) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48

Article Details

How to Cite
ปินตา ล., ใจดี ว., อาษากิจ ห., & เนื่องภิรมย์ พ. (2024). การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ปลูกและแปรรูปชาอัสสัม ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 12(2), 85–100. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/272505
บท
บทความวิจัย

References

จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2563). การพัฒนาระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาแบบ 360 องศา. วารสารวิชาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 59-70.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ปาริชาติ เยพิทักษ์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. การบริหารจัดการข้อมูลขององค์การในภาครัฐ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 9(1), 17-26.

นรเทพ ศักดิ์เพชร, ชาติรส จิตรักษ์ธรรม, อรรณพ บุญจันทร์ และชัญญานุช พุ่มพวง. (2566). การพัฒนาแอปพลิเคชันสาหรับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตาบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล. วารสารวิทยาศาสตร์ มข, 51(3), 238-256.

วศิน เพิ่มทรัพย์ และคณะ (2563). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น จากัด.

เมทิกา พ่วงแสง และ วิสุตา วรรณห้วย. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 4(2), 8-17.

สถาบันชา. (2551) .องค์ความรู้เรื่องชา-กาแฟ. จาก https://teacoffee.mfu.ac.th/tc-main.html

องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแป๋. (2566). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. จาก https:// www.phapae.go.th/content/generalinfo

อรุณี มะฏารัก และ ภาวิณี อาสน์สุวรรณ. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลเกษตรกรของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาภ (สุรินทร์). วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(1), 86-97.

บัญชา ปะสีละเตสัง. (2558). พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย PHP ร่วมกับ MySQL และ jQuery. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Radack, S. (2003). The System Development life cycle. iTL Bulletins, National Institute of Standards and Technology, December 2003. 1-4.