การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ “ดอยเสมอดาว” อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยเสมอดาว 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระดับของการมีส่วนร่วมในชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติดอยเสมอดาวอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในชุมชนบ้านหนองบัว ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน จำนวน 287 คน และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ดอยเสมอดาว จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 301 คน คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 172 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ดอยเสมอดาวอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน อยู่ในระดับน้อย 2) แนวทางการพัฒนาระดับของการมีส่วนร่วมในชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติดอยเสมอดาวอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องกำหนดแนวทางการควบคุมให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนเคารพกติกาของชุมชน เน้นการรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่น การกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวควรเป็นไปอย่างยุติธรรมเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ควรจัดประชุมทุกเดือนเพื่อให้สมาชิกชุมชนและผู้ประกอบการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สรุปผลการดำเนินงาน และร่วมกันหาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ควรจัดให้มีโครงการอบรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและยุวมัคคุเทศก์ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชน ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น และทรัพยากรในท้องถิ่น การอบรมนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถเผยแพร่ข้อมูลอย่างถูกต้องและชัดเจนแก่นักท่องเที่ยว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิจัยนี้เป็นของลิขสิทธิ์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2567. จาก www. mots.go.th/news/category/760
ฐิตาภา บำรุงศิลป์, รัตนะ ทิพย์สมบัติ, ขัติยาภรณ์ มณีชัย, ชญานี วีระมน, ทิวาทิพย์ บาศรี, อนงค์นาฏ โอมประพันธ์, กชนิภา จันทร์เทศ และรัชนีกร งีสันเทียะ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านวังรี จังหวัดนครนายก. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(3), 1–14.
ธนกร จินดาดวงรัตน์, ทวี แจ่มจำรัส, ชัยเดช ช่างเพียร และชัยวัฒน์ รวิโรจนวงศ์. (2566). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ยุคปกติใหม่. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(3), 671-685.
ณัฐวุฒิ รัพยูร และปรารถนา หลีกภัย. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวอุทยานธรณีสตูล. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์, 40(1), 111–133.
ปิยธิดา ปานรังษี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยวโดยชุมชนขนอม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา). กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระครูใบฎีกาทศพล ลกฺขสุวณฺโณ (คำแสน). (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของเทศบาลตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย). เชียงราย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย
เมษ์ธาวิน พลโยธี, สุธาธิณี หนูเนียม และสุวิชาดา สกุลวานิชเจริญ. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 18(1), 1–16.
สุธาสินี วิยาภรณ์, กิ่งดาว อาจคงหาญ และพศวรรตร์ วริพันธ์. (2564). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ [ภาคโปสเตอร์]. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8, นครราชสีมา: ประเทศไทย.
องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ. (2024). การท่องเที่ยว 4 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. จาก www. unwto.org/tourism4sdgs
อนันต์ สุนทราเมธากุล, ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ, อัยรดา พรเจริญ และดุสิต จักรศิลป. (2561). การจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่ชุมชนมีส่วนร่วมในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University, 5(2), 197-221.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, Elsevier, 8(3), 213-235.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297–334.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). Harper and Row.